สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเมตาเวิร์ส เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

ผู้แต่ง

  • กษิดิศ ปิยะนราพิบูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สิทธิศักดิ์ จันทิมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • พิมพ์ชนก สุวรรณศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.510

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์, เมตาเวิร์ส, ทักษะการคิดคำนวณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเมตาเวิร์สเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานสื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเมตาเวิร์สเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเมตาเวิร์ส 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 4) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสันคะยอม จังหวัดลำพูน จำนวน 28 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเมตาเวิร์สเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ ประกอบไปด้วยสื่อการเรียนรู้สำหรับนำเสนอเนื้อหาทักษะการคิดคำนวณ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 เกมการเรียนรู้ และแบบฝึกหัด จำนวน 12 เรื่อง 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยทางสถิติ 0.01  3) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากใช้งานสื่อพบว่า มีความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.07 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2565). การสร้างจักรวาลนฤมิต Spatial Metaverse. สืบค้นจาก https://touchpoint.in.th/spatial-metaverse/

กรกช ขันธบุญ. (2565). รูปแบบการสื่อสารผ่านเมตาเวิร์สเพื่อการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 20(3), 123-144. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/264140

ทรงพล วงษ์กาญจนกุล. (2563). ความท้าทายในการสอนออนไลน์ของระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษาครูโรงเรียนรุ่งอรุณ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

ธเนศ มนต์น้อย, ถาวรีย์ ทิวงศ์ และ พิมพ์ชนก สุวรรณศรี. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบจักรวาลนฤมิตร เพื่อส่งเสริมการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชภัฏกรุงเก่า” ครั้งที่ 5 (น. 139-149). 15– 16 ธันวาคม, 2565. อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วไลพร เมฆไตรรัตน์ และ สุชานาฏ ไชยวรรณะ. (2563). ผลการใช้นวัตกรรมการอ่านแบบกระบวนการ 3R โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 134-137. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/242642

วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

ละเอียด ศิลาน้อย และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2562). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 112-126. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/196862

สุภาพรรณ ศรีสุข. (2564). 3R x 8C ทักษะในโลกใหม่ที่เด็กยุคไทยต้องมี. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/90550

สุวรรณนา เพ็งเที่ยง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์วิกฤต COVID-19 วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: โรงเรียนหอวัง.

สุรพล บุญลือ. (2565). เมตาเวิร์สสำหรับการศึกษา: การเชื่อมต่อระหว่างจักรวาลนฤมิตกับโลกความจริงของการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบดื่มด่ำ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 11(1), 9-16. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/258310

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-10

How to Cite

ปิยะนราพิบูล ก., จันทิมา ส. ., & สุวรรณศรี พ. . (2023). สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเมตาเวิร์ส เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(1), 60–70. https://doi.org/10.57260/stc.2023.510