การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.535คำสำคัญ:
มัลติมีเดีย, บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ , สื่อการสอน , แนวคิดเชิงคำนวณบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ มีองค์ประกอบ ดังนี้ หน้าสำหรับสมัครสมาชิก หน้าบทเรียน หน้าแบบทดสอบ ฐานข้อมูล การจัดอันดับประวัติการทำแบบทดสอบ ข้อเสนอแนะ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ โดยใช้เกณฑ์ E1/E2 ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สามารถนำไปใช้ได้ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพโดยใช้เกณฑ์ E1/E2 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ ซึ่งมีผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมามีประสิทธิภาพ 81.37/85.44 เมื่อนำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบ t-test พบว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมึความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.34
References
กรวิชญ์ โสภา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติคอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เจษฎา วิริยะกุล. (2557). การสร้างสคริปต์แบบวิชวลสำหรับสคริปต์ทาสก์ของแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็น. วิทยานิพนธ์คณิตศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล : Digital Learning Design. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพงษ์ วารีประเสริฐ และ สุธี พงศาลกุลชัย. (2552). โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม (Data Structures and Algorithms). กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาทิตย์ ศรีแก้ว. (2553). สภาวะแวดล้อมเชิงวิชวล สำหรับการพัฒนาระบบการมองเห็นของคอมพิวเตอร์,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Charles, D., Charles, R. G.., Patsy, D. M., Anders, N., Nicole, S.. (2018). Blended learning: the new normal and emerging technologies. Dziuban et al. International Journal of Educational Technology in Higher Education. 15(3), 1-16. DOI 10.1186/s41239-017-0087-5
Dipe, V. C. (2015).. TV:A Visual Programming Language and Interface for Dynamic Media Programming (Master of Science), Massachusetts Institute of Technology.
Faber, H. H., Wierdsma, M. D. M., & Doornbos, R. P. (2017). Teaching Computational Thinking to Primary School Students via Unplugged Programming Lessons. Journal of the European Teacher Education Network. 12, 13-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ