การพัฒนาแอปพลิเคชันจัดการการนัดหมายการเข้ารับบริการออนไลน์ : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรม
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.607คำสำคัญ:
การพัฒนาโปรแกรม , นัดหมาย , คลินิก, ทันตกรรมบทคัดย่อ
การพัฒนาแอปพลิเคชันจัดการการนัดหมายการเข้ารับบริการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชัน จัดการการนัดหมายการเข้ารับบริการและประเมินแอปพลิเคชัน ประชากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่คลินิกและผู้ใช้บริการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่คลินิกทันตกรรมจำนวน 3 คน และผู้ใช้บริการคลินิก โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แอปพลิเคชันจัดการการนัดหมายการเข้ารับบริการ 2) แบบประเมินแอปพลิเคชันจัดการการนัดหมายการเข้ารับบริการ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ 1) การพัฒนาแอปพลิเคชันแบ่งอออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนเจ้าหน้าที่คลินิกสามารถจัดการข้อมูลบริการต่าง ๆ วันหยุดของคลินิก และจัดการการ นัดหมาย ดูข้อมูลและยกเลิกการนัดหมาย ตรวจสอบประวัติการเข้ารับบริการ รวมถึงจัดการการชำระเงิน และดูรายงานรายได้และสถิติการเข้ารับบริการต่างๆ ได้ และส่วนผู้ใช้บริการสามารถส่งคำขอเข้ารับบริการ และจัดการข้อมูลการนัดหมายได้ ตรวจสอบสถานะการนัดหมายได้ผ่านมือถือได้ 2) ผลการประเมินแอปพลิเคชัน พบว่า ด้านการใช้งานของแอปพลิเคชันมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านนำไปใช้ประโยชน์ และการออกแบบ ตามลำดับ
References
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). EGA จับมือ รพ.รามาธิบดี เปิดตัวแอปพลิเคชัน RAMA Appointment. สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/health_service/th/news/services/05232016-1919-th
วัลลภ เรือนก๋องเงิน และ ชาญนุวัฒนพงค สมุทรเวทย. (2565). การพัฒนารูปแบบระบบการส่งต่อใบนัด ออนไลน์แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอมก๋อย. วารสารการพยาบาลและการสาธารณสุข, 2(1), 60-72. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jnphr/article/view/256154
วิริยะ รอดโพธิ์ทอง. (2561). การพัฒนาระบบการจัดนัดหมายงานการประชุมการท่องเที่ยวอาเซียน. สืบค้น จาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5750
สหรัฐ แหวนสูงเนิน, จิราภรณ์ มงคลมะไฟ, รัตนา กสิเจริญ,อภิชาติ จิตโสภารุ่งโรจน์, อัครบุรุษ ดอบุตร และเทียนชัย เสาร์ดี. (2563). การศึกษาและพัฒนาระบบการจองคิวร้านเสริมสวยในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. (รายงานผลการวิจัย). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อภิสิทธิ์ โยลัย, กาญจนา คำสมบัติ, ทินกร คุณาสิทธ์, และอนุวัต ขัยเกียรติธรรม. (2565). แอปพลิเคชันการจองคิวร้านเสริมสวย. วารสารวิชาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(1), 56-65. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/246614
ALSAADI, H., Radain, D., ALZAHRANI, M., Alshammari, W., ALAHMADI, D., & Fakieh, B. (2021). Factors that affect the utilization of low-code development platforms: survey study. Romanian Journal of Information Technology and Automatic Control, 31(3), 123-140. DOI:10.33436/v31i3y202110
Dilmegani, Cem. (2023). 32 Low Code/ No Code Statistics from Reputable Sources. Retrived from https://research.aimultiple.com/low-code-statistics/
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and. Measurement. Fishbeic, Martin, New York: Wiley & Son.
Mindphp. (2022). What is the System Development Lifecycle (SDLC)? . Retrived from https://www.mindphp.com
TechTalkThai. (2019). What Low-code Development Platform?. Retrived from https://www.techtalkthai.com/what-is-low-code-development-platform-by-outsystems/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ