ผลของการทำแห้งที่มีต่อสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของผักเชียงดาผง
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2023.615คำสำคัญ:
การทำแห้ง , สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ , ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ , ผักเชียงดาผงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักเชียงดาผงที่ผ่านกระบวนการทำแห้งด้วยแสงแดดและอบด้วยตู้อบลมร้อน จากผลการวิเคราะห์ พบว่า เมื่อนำผักเชียงดาสดมาทำแห้งโดยการอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง ผักเชียงดาผงที่ได้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบโพลีฟีนอลทั้งหมด และเบต้าแคโรทีน มากกว่าผักเชียงดาผงที่ผ่านการทำแห้งด้วยแสงแดดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนคลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และคลอโรฟิลล์ทั้งหมด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P˃0.05) ซึ่งการแปรรูปผักเชียงดาให้เป็นผงด้วยการอบแห้งด้วยตู้อบลมร้อนเป็นกระบวนการที่เหมาะสมในการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เชียงดาผงชนิดแคปซูลมากกว่าการทำแห้งด้วยแสงแดด
References
นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร, กอบลาภ อารีศรีสม, ภาวิณี อารีศรีสม, วิกานดา ใหม่เฟย และ ศักดิ์ชัย เสถียรพีระกุล. (2563). ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก สารฟลาโวนอยด์และคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระของชาเชียงดาจากกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 2(3), 51-61. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/article/view/248487
พัชรี สิริตระกูลศักดิ์ และ สกุลกานต์ สิมลา. (2558). ผลของกรรมวิธีการประกอบอาหารต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในดอกชมจันทร์. วารสารแก่นเกษตร, 43(1), 875-880.
ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ ปาริชาติณ น่าน และศิริพร ทองภู. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่กัมมี่ที่มีคุณภาพดีและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจากผักเชียงดา. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 3(ฉบับพิเศษ), 39-47.
เมตตา เถาว์ชาลี. (2561). ผลของ pH ที่มีต่อการย่อยสลายคลอโรฟิลล์และการหายไปของสีและระดับกิจกรรมต้านอนมูลอิสระในวอเตอร์เครส (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
วิจิตรา เหลียวตระกูล, วชิรญา เหลียวตระกูล และ ธนาธิป หงส์ทองสุข. (2564). ผลของอุณหภูมิและความเข้มข้นในการสกัดต่อคุณภาพของน้ำใบเตย. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
สิรินทัศน์ เลี่ยมแหลม. (2556). คุณภาพของมะเดื่อ (มะนอด) แช่อิ่มอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบถาด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสาวภา ชูมณี และ รุจิรา คุ้มทรัพย์. (2563). การหาปริมาณสารพฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุจากใบถั่วดาวอินคา. PSRU Journal of Science and Technology, 5(2), 98-113. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/240575
เสาวลักษณ์ เรืองอ่อน และ ศักดิ์ศรี แสนยาเจริญกุล. (2560). การศึกษาปริมาณสารเบต้าแคโรทีนทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและจากฟักทอง. ใน อาคารทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 22 ธันวาคม 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Alok, S., Jain, S. K., Verma, A., Kumar, M., Mahor, A., & M. Sabharwal. (2014). Herbal antioxidant in clinical practice: A review. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine, 4(1), 78-84. DOI: 10.1016/S2221-1691(14)60213-6
AOAC. (2019). Official Methods of analysis of AOAC international (21th ed.). Gaithersburg, MD, USA: AOAC International.
Sarker, U., Oba, S., & Daramy, M. A. (2020). Nutrients, minerals, antioxidant pigments and phytochemicals, and antioxidant capacity of the leaves of stem amaranth. Scientific Reports, 10(3892), 1-9. DOI: 10.1038/s41598-020-60252-7
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ