การตีตราผู้ป่วยโรคเรื้อนของประชาชนในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ทุเรียน สุทธิฤกษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี
  • สุชาญวัชร สมสอน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี
  • กัทลี หารคุโน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี
  • ธิราภรณ์ ใครสาคลี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.648

คำสำคัญ:

การตีตรา, ผู้ป่วยโรคเรื้อน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตีตราผู้ป่วยโรคเรื้อนของประชาชนในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในตำบลที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2555 – 2564) ในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 400 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบวัดการตีตราของชุมชน (EMIC: Explanatory Model Interview Catalogue) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า ประชากรในตำบลที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2555 – 2564) ในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 400 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.25 มีอายุระหว่าง 35-54 ปี ร้อยละ 52 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 44.75 สถานะภาพสมรสคู่ ร้อยละ 72.50 มีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 46.50 ไม่มีสมาชิกในครอบครัวหรือมีเครือญาติเป็นโรคเรื้อน ร้อยละ 97.50 มีคนในชุมชนเป็นโรคเรื้อน ร้อยละ 89.50 มีการรับเชื้อหรือการเป็นโรคเรื้อนทางอากาศหรือการหายใจ ร้อยละ 51.50 มีความเข้าใจโรคเรื้อนสามารถรักษาให้หายได้ ร้อยละ 77.50 และมีการตีตรา              ร้อยละ 88.75 ดังนั้นในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเรื้อนควรมีการให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อนที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไปในชุมชน เพื่อลดทัศนคติลบที่มีต่อโรคและผู้ป่วยโรคเรื้อน รวมถึงควรมีการอบรมหรือฟื้นฟูวิชาการให้แก่บุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อสามารถให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อนโดยปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อไป

References

กรมควบคุมโรค. (2565). โรคเรื้อน. สืบค้นจาก https:// ddc.moph.go.th/2022

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค. (2565). แผนงานด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ จำกัด.

ศิรามาศ รอดจันทร์, ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, พจนา ธัญญกิตติกุล, นพพร ศรีคำบ่อ, เพชรรัตน์ อรุณภาคมงคล, ภัสราภรณ์ แก้วไทรนันท์ และ นฤมล ใจดี. (2554). การสำรวจความพิการปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารควบคุมโรค, 37 (3), 186-96. http://irem.ddc.moph.go.th/content/download/206

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์ และ พจนา ธัญญกิตติกุล. (2562). การประเมินประสิทธิผลโครงการกำจัดโรคเรื้อนภายใต้แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) และแผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 6 ปี (พ.ศ. 2558-2563) พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สถาบันราชประชาสมาสัย.

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, พจนา ธัญญกิตติกุล และ ชุติวัตย์ พลเดช. (2561). การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ผลของการตีตราต่อผู้เป็นโรคเรื้อน วัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้เป็นโรคเอดส์. วารสารควบคุมโรค, 44 (1), 19-30. http://irem.ddc.moph.go.th/content/download/482

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, ศิรามาศ รอดจันทร์, พจนา ธัญญกิตติกุล, นพพร ศรีคำบ่อ, นรินทร กลกลาง และ วภารัตน์ รวดเจริญ. (2562). การตีตราและระยะทางสังคมของประชาชนต่อผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนในชุมชน, วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 13(2), 66-77. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/187194

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, ศิรามาศ รอดจันทร์, โกเมศ อุนรัตน์, พจนา ธัญญกิตติกุล และ ชุติวัลย์ พลเดช. (2560). การรับรู้การตีตราต่อโรคเรื้อนและวัณโรคในบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดชัยภูมิ. วารสารควบคุมโรค, 43(3), 329-41. http://irem.ddc.moph.go.th/content/download/391

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาละฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อน. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานสถานการณ์โรคเรื้อน สืบค้นจากhttps://rajpracha.ddc.moph.go.th

Costa, R. M. P. G., Fernandes, M. A., Santos, A. M. R. D., Rocha, D. D. M., G. P. G., & Avelino, F. V. S. D. (2022). Social stigma and mental health impairment in people with leprosy: An integrative review. Leprosy Review, 93(3), 254–64. DOI:10.47276/lr.93.3.254

Ebenso, B., Newell, J., Emmel, N., Adeyemi, G., & Ola, B. (2019). Changing stigmatisation of leprosy: an exploratory, qualitative life course study in Western Nigeria. BMJ Glob Health. 4:e001250

Fernandes, M. L. G., Souza, A. R. N., Kenedi, M. D. T., Cunha, A. J. L. A., Kritski, A. L. & Gomes, M. K. (2022). Stigma and art therapy with Brazilian leprosy patients. Leprosy Review. 93(3), 265–87. DOI: 10.47276/lr.93.3.265

Marahatta, S. B., Amatya, R., Adhikari, S., Giri, D., Lama, S., & Kaehler, N. (2018). Perceived stigma of leprosy among community members and health care providers in Lalitpur district of Nepal: A qualitative study. PLoS ONE, 13(12): e0209676. DOI:10.1371/journal.pone.0209676

Pirayavaraporn, C. (1996) Leprosy profile. Bangkok: The Agricultural Co.Operative federation of Thailand Limited.

World Health Organization. (2019). Eliminate leprosy-related discrimination, prejudice and stigma to end leprosy for good. India: WHO.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed., Harper & Row Ltd., New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-20

How to Cite

สุทธิฤกษ์ ท., สมสอน ส. ., หารคุโน ก., & ใครสาคลี ธ. . (2023). การตีตราผู้ป่วยโรคเรื้อนของประชาชนในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(5), 32–44. https://doi.org/10.57260/stc.2023.648