การทำนายพื้นที่เสียหายจากไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วัฒนา ชยธวัช คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.659

คำสำคัญ:

จังหวัดเชียงใหม่ , พื้นที่เสียหาย , ไฟป่า

บทคัดย่อ

จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดซึ่งได้รับผลกระทบจากไฟป่ามากที่สุดของประเทศ การพยากรณ์พื้นที่เสียหายจากไฟป่าของจังหวัดเขียงใหม่มีข้อมูลจำกัดจึงทำการพยากรณ์โดยการใช้ตัวแบบจากทฤษฎีระบบเกรย์ซึ่งใช้ข้อมูลจำนวนน้อย ข้อมูลพื้นที่เสียหาย (ไร่) จากไฟป่าของสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 16 เชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2560 ถึง 2564 จึงนำมาใช้ในการพยากรณ์พื้นที่เสียหายในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งพบว่าตัวแบบเกรย์ที่ได้มีการปรับค่าความคลาดเคลื่อน (GM(1,1)EPC) มีค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percentage Error - MAPE) เพียงร้อยละ 11.70 ซึ่งใช้พยากรณ์ได้ดี โดยจะมีพื้นที่เสียหาย 32,220 ไร่ สูงกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมาร้อยละ 8.71 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงยังไม่สามารถตรวจสอบกับค่าจริงได้

Author Biography

วัฒนา ชยธวัช, คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

-

References

วิจารย์ สิมาฉายา. (2554). เอกสารสําหรับการสัมมนา ” วิกฤตโลกร้อน มลพิษหมอกควัน มหันตภัยใกล้ตัว” ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา 11 กุมภาพันธ์ 2554 จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/06/pcdnew-2020-06-05_07-33-31_040770.pdf

ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2566ก). บทที่ 1 ความรู้เรื่องไฟป่า. สืบค้นจากhttps://www.dnp.go.th/forestfire/web/frame/lesson1.html

ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2566ข). สถิติไฟป่า: การประเมินพื้นที่ป่าที่ถูกไฟไหม้ในระหว่างปี 2535 – 2565. สืบค้นจาก https://portal.dnp.go.th/Content/firednp?contentId=15705

ส่วนคุณภาพอากาศ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. (18 กันยายน 2566). สรุปข้อมูลคุณภาพอากาศ พ.ศ. 2563 – 2566. สืบค้นจากhttp://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php

ส่วนแผนงานและประมวลผล กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. (1 ก.ย. 2566). คุณภาพอากาศในพื้นที่บริเวณ ต.ช้างเผือก และ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ปี 2563 ถึง 2566. สืบค้นจาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php

สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 16 เชียงใหม่. (2566). สารสนเทศในรูปแบบแผนภาพ (Visualization) จังหวัดเชียงใหม่ การแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า : พื้นที่เสียหาย 2561 – 2564. สืบค้นจากhttps://app.powerbi.com/view?r=eyJrIjoiYTI2NWE3MzMtMTllYS00NDZiLWIxYzctYjVkMzRkMjlmZjQ0IiwidCI6IjZmNDQzMmRjLTIwZDItNDQxZC1iMWRiLWFjMzM4MGJhNjMzZCIsImMiOjEwfQ%3D%3D

ศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่. (2020). ข้อมูลสถิติไฟป่า พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2560 – 2564. สืบค้นจาก http://www.fca16.com/web/page/96

Andrés, D. (2023. Error Metrics for Time Series Forecasting. Machine Learning Pills. Retrived from https://mlpills.dev/time-series/error-metrics-for-time-series-forecasting/

Cheng, K-S., Lien, Y-T., Wu, Y-C., & Su, Y-F. (2017). On the criteria of model performance evaluation for real-time flood forecasting. Stochastic Environmental Research and Risk Assessment, 31, 1-24. DOI:10.1007/s00477-016-1322-7

Deng, J. L. (1989). Introduction to Grey System Theory. J. Grey Syst, 1(1), 1–24. https://doi.org/10.1007/978-3-642-16158-2_1

Forrest, J., & Liu, S. F. (2011). A Brief Introduction to Grey Systems Theory, Grey Systems: Theory and Applications. In Proceedings of the 2011 IEEE International Conference on Grey Systems and Intelligent Services, Nanjing, China, 15–18 September 2011; Volume 2.

Lewis, C. D. (2023). Industrial and business forecasting methods. London: Butterworths.

Lin, Y. H., Chiu, C. C., Lin, Y. J., & Lee, P. C. (2013). Rainfall prediction using innovative grey model with the dynamic index. Journal of Marine Science and Technology, 21(1), 63-75. DOI:10.6119/JMST-011-1116-1

Liu, S. F., & Lin, Y. (2010). Grey Systems—Theory and Applications. Springer: Berlin, Germany.

Qiu, T., & Zhang, J., Bai, X., & Nie, B. (2009). Application of Grey Model in Fire Prediction. In Proceedings of the Conference: International Forum on Information Technology and Applications, IFITA 2009, Chengdu, China, 15-17 May 2009. p. 429-432. DOI: 10.1109/IFITA.2009.362

Wang, Q., Gao, Z., WangHe, C., Cao, Y., & Yu, W. (2023). Dynamic Response of Shrubbery Fire to Meteorological Changes in Yunnan Province 2023. In Proceedings of E3S Web of Conferences 394, 01030 REES 2023. pp. 1-16. https://doi.org/10.1051/e3sconf/202339401030

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-20

How to Cite

ชยธวัช ว. (2023). การทำนายพื้นที่เสียหายจากไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(5), 22–31. https://doi.org/10.57260/stc.2023.659