การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ภรภัทร ดอกไม้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
  • ธีรยา วรปาณิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.668

คำสำคัญ:

การดูแลผู้สูงอายุ , การส่งเสริมสุขภาพ , ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง , ระบบ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสุโขทัย รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยกึ่งทดลองโดยดำเนินการศึกษาสถานการณ์และค้นหาปัญหา ออกแบบ พัฒนา และประเมินระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึงพิงในจังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและคณะกรรมการสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ระดับเขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก และระดับจังหวัด รวมถึงผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงทุกคน ทั้งหมด 9 อำเภอ ในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 3,585 คน ผลการวิจัย พบว่า ระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึงพิงในจังหวัดสุโขทัย มีองค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย  การพัฒนาด้านนโยบาย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบูรณาการ และด้านการมีส่วนร่วมของสังคมและชุมชน ทำให้มีบุคลากรที่มีศักยภาพรองรับการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น รวมถึงผู้สูงอายุ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ตามรายด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึ่งประสงค์เพิ่มมากขึ้น โดยกิจกรรมทางกาย เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.50 ในปี 2566 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์มากที่สุด คือ การดูแลสุขภาพช่องปาก การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 91.90 ร้อยละ 91.50 และร้อยละ 91.20 ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินการคัดกรองถาวะถดถอย 9 ด้านในผู้สูงอายุผ่านสมุดสุขภาพประชาชน พบว่า ภาพรวมจังหวัดสุโขทัยได้ดำเนินการคัดกรองได้ 88,105 คน คิดเป็นร้อยละ 82.63 ภาวะเสี่ยงที่พบมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ การมองเห็น สุขภาพช่องปาก และการเคลื่อนไหวร่างกาย ร้อยละ 10.61 ร้อยละ 10.22 และร้อยละ 9.81 ตามลำดับ ดังนั้นการพัฒนาการทำงานร่วมกันทั้งระบบในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพาควรพัฒนาร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายและพัฒนาทั้งระบบเพื่อรองรับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

References

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และ ยุวดี รอดจากภัย. (2561). สุขภาวะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 113-127. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/111273

จิราภรณ์ อุ่นเสียม. (2559). พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเขต สุขภาพที่ 11. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 30(4), 261-268. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/179402

ฐิตินันท์ ดวงจินา, ศิริรัตน์ ปานอุทัย และ ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. พยาบาลสาร, 47(1), 231-241. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/download/209426/161286/796231

ธนา คลองงาม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาดจังหวัด ศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(1), 47-56. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/247524

ปริญญภาษ สีทอง และ ปณิสรา จันทร์ปาละ. (2565). หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง. วารสารวิชาการและสังคมศาสตร์, 17(2), 185-198. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JSSRA/article/view/254932

ปะราลี โอภาสนันท์, พรทิพย์ ปาอิน และ สุนีย์ ปัญญาวงศ์. (2561). การพัฒนาข้อเสนอสำหรับชุดบริการการดูแลที่บ้านสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 139-154. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/152689

ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์ และ อรสา กงตาล. (2563). การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(3), 48-65. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/view/246127

ภารดี นานาศิลป์. (2558). แทนความรู้การพยาบาลผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุคือใคร อายุ หรือ ปัจจัยใดช่วยกำหนด. พยาบาลสาร, 42(ฉบับพิเศษ), 156-162. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57311

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

รุ่งนภา อุดมลาภ และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2561). ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของผู้ดูแล ที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(3), 103-115. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUNS/article/view/200589

วิยะดา รัตนสุวรรณ. (2561). จริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง : มุมมองที่แตกต่าง. วารสารการ พยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, 19(3), 14-24. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/157259

สมบัติ กาวิลเครือ. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 161-173. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/85194

สรวงสุดา เจริญวงศ์, พรทิวา คงคุณ, นิภารัตน์ จันทร์แสงรัตน์, เพียงตะวัน สีหวาน. (2561). สถานการณ์การ ดูแลและความต้องการการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้ของไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 231-246. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/130879

สุภาวดี ไชยเดชาธร, ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน และ กชกร แก้วพรหม. (2558). สุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างแกนนำชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 21(1), 31-40. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/39759

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวา รินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, 17(2), 71-84. http://web.bcnpy.ac.th/journal/images/file/pdf/year17-no2.pdf

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวาริน ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 57-69. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/99136

อรทยา สารมาศ, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ และ โสมฉาย บุญญานันต์. (2562). การใช้ศิลปะเป็นฐานเพี่อพัฒนาสุขภาวะของผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9(2), 17-32. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGNRU/article/view/193954

อัมเรศ เนตาสิทธิ์ และ อนงค์รัตน์ รินแสงปิน. (2564). การส่งเสริมการใช้ชีวิตตามแนวจิตวิทยาเชิงบวกสำหรับ ผู้สูงอายุ โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(1), 17-34. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGNRU/article/view/240810

อนุสรณ์ อุดปล้อง, เกรียงศักดิ์ โรจน์คุรีเสถียร และ ภาณี วงษ์เอก. (2556). ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุบ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(1), 68-79. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/49091

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19

How to Cite

ดอกไม้ ภ. ., & วรปาณิ ธ. . (2023). การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(6), 62–77. https://doi.org/10.57260/stc.2023.668