ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพประเด็นการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ปรีชญา จอมฟอง โรงพยาบาลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2023.720

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , การป้องกันการพลัดตกหกล้ม , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพประเด็นการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย พื้นที่ใช้ในการศึกษาคือ ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือชุดที่ 1 โปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพประเด็นการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม และเครื่องมือชุดที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและผู้ดูแล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Independent T test, Dependent T test และ Chi square

ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพประเด็นการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และการทรงตัวดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p – value =0.001) และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p – value =0.001) สรุปผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพประเด็นการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ด้วยกิจกรรมหลากหลายเหมาะสมกับสมรรถภาพผู้สูงอายุ ส่งเสริมการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง                   การสื่อสาร การติดตามการดำเนินการและผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง สามารถส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มและการทรงตัวดีขึ้น สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้ จึงควรนำไปในชุมชนอื่นที่มีลักษณะคล้ายชุมชนตัวอย่างได้

References

กมลรัตน์ กิติพิมพานนท์ และ ผจงจิต กรถาวร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการหกล้มกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 27(3), 331-342. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/248654

กระทรวงสาธารณสุข. (2555).“เกณฑ์การประเมินสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านที่มีคุณภาพโดยบุคลากรสาธารณสุข”. เอกสารประกอบการ ประชุมชี้แจงแผนการตรวจราชการและ นิเทศงานระดับกระทรวง กระทรวง สาธารณสุข ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2555.วันที่ 26-27 มกราคม 2555 ณ โรงแรม รามาการ์เดนท์ กรุงเทพมหานคร. (เอกสาร อัดสำเนา)

กรมกิิจการผู้้สููงอายุุ กระทรวงพััฒนาสัังคมและความมั่นคงของมนุุษย์์. (2559). ระบบดูแลและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในระดับพื้นที่. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1561080125-196_0.pdf

คณะกรรมการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ กระทรวงสาธสารณสุข. (2564). คู่มือ การคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ.2564. กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/file download/file_20210129131952.pdf

ณภัทร ธรกานต์ธนาภัทร, พรรณวรดา สุวัน, จุฑารัตน์ เสาวพันธุ์, กชนิภา ขวาวงษ์, ญาธิดา วุฒิศาสตร์กุล และ วิยะดา ทิพม่อม. (2564). การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้มพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มและจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก10ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(1), 111-126. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/250825

ปิยะรัตน์ สวนกูล และ หัสยา พรอิทยศ. (2566). ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสาร การ แพทย์และวิทยาศาสตร์ทางคลินิกโรงพยาบาลแพร่, 31(1), 27-42. https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/13181

ปรีดา สาราลักษณ์ และ วรารัตน์ ทิพรัตน์. (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 15(2), 1-13. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/255081

วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, จรูญรัตน์ รอดเนียม และ พีรวิชญ์ สุวรรณเวลา. (2565). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มและการทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 14(3), 72-91. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/252893

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางเวชปฏับิติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ: สินทวีการพิมพ์. สืบค้นจาก http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp- content/uploads/2021/01/book_9.pdf

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน). สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566, สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานการพยากรณ์พลัดตกหกล้มของ ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/document/file/violence/202560-2564.pdf

โสภิตตา แสนวา, นิภา มหารัชพงศ์, เอม อัชฌาวัฒน บุรานนท์ และ วัลลภ ใจดี. (2565). ผลของโปรแกรม ป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยประยุกต์ตาม แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อ พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(2), 214-227. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/256271

อัจฉรา ปุราคม. (2559). รูปแบบกิจกรรมทางกายเพื่อลดการเสื่อมถอยของสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายสำหรับผู้สูงอายุ. (รายงานวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

Alekna, V., Stukas, R., Tamulaitytė-Morozovienė, I., Šurkienė, G., & Tamulaitienė, M. (2015). Self-reported consequences and healthcare costs of falls among elderly women. Medicina, 51(1), 57-62. https://doi.org/10.1016/j.medici.2015.01.008

Berg, K., Wood-Dauphinee, S. L., Williams, J. I., & Gayton, D. (1989). Berg Balance Scale (BBS) [Database record]. APA PsycTests. https://doi.org/10.1037/t28729-000

Cavalcante, A. L. P., Aguiar, J. B. D., & Gurgel, L. A. (2012). Fatores associados a quedas em idosos residentes em um bairro de Fortaleza, Ceará. Revista Brasileira de Geriatria e Gerontologia, 15(1), 137-146. https://doi.org/10.1590/S1809-98232012000100015

Chesser, A. K., Woods, N. K., Reyes, J., & Rogers, N. L. (2018). Health literacy and olders: Fall prevention and health literacy in a Midwestern State. Journal of Aging Research and Healthcare, 2(2), 31-40. https://doi.org/10.14302/issn.2474-7785.jarh-17-1911

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191. https://link.springer.com/article/10.3758/BF03193146

Gang, L., Sufang, J., Ying, S. (2006). The incidence status on injury of the community-dwelling elderly in Beijing. Chi J Prev Med, 40(1), 37.

Kobayashi, L. C., Smith, S. G., O’Conor, R., Curtis, L. M., Park, D., & Wagner, C. V., Wolf, M. S. (2015). The role of cognitive function in the relationship between age and health literacy: A cross-sectional analysis of older adults in Chicago, USA. British Medical Journal Open, 5(4), e007222. https://doi.org/10.1136/bmjopen-2014-007222

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine, 67(12), 2072-2078. http://dx.doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050

Srichan, K. L., & Kamwee, L. (2017). The report of fall prevalence of elderly (60 years and over) in Thailand, 2017-2021. Bureau of non-communication disease, Deprtment of disease control, ministry of public health Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19

How to Cite

จอมฟอง ป. (2023). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพประเด็นการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง . วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(6), 40–61. https://doi.org/10.57260/stc.2023.720