สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอด อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปองรัก ฒุณฑวุฒิ โรงพยาบาลเต่างอย

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.749

คำสำคัญ:

สถานการณ์, ตกเลือดหลังคลอด , มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective cohort study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอด ในอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอด ที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 จำนวน 750 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบคัดลอกข้อมูลจากแบบบันทึกสุขภาพมารดาของกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi square ผลการวิจัยพบว่า อัตราการตกเลือดหลังคลอดในปีงบประมาณ 2560 – 2566 จำนวน 13 ราย อุบัติการณ์การตกเลือดหลังคลอดสูงสุดในปี 2566 ร้อยละ 3.03 รองลงมา ปี 2564, 2560, 2562,  2565, 2561 และ 2563 พบมารดาตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 2.88, 2.26, 1.75, 1.12, 0.85 และ 0.79 ตามลำดับ 
ทั้งนี้มีปัจจัยระดับ BMI ของมารดา จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับการตกเลือด หลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p – value = 0.025, 0.007) ส่วนปัจจัยด้านโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง โลหิตจาง โรคซึมเศร้า ประวัติมีทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด (1 เดือนแรก) น้ำหนักทารกแรกคลอด ระดับความเข้มข้นของเลือดมารดา ประวัติการผ่ามดลูก/ขูดมดลูก/แท้ง ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด (การฉีกขาดของแผล,การคลอดท่าที่ผิดปกติ และความผิดปกติของรก มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p – value = 0.001 ทุกปัจจัย) จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอด เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลมารดาตกเลือดหลังคลอด ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด ตลอดจนแนวทางการดูแลมารดาหลังคลอดขณะอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมอนามัย. (2563). สถิติการตายและสาเหตุการตายของมารดาทั่วประเทศไทย. สืบค้นจาก http://dashboard.anamai. moph.go.th

งานห้องคลอดโรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร. (2566). รายงานการคลอด เอกสารสรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลเต่างอย ห้องประชุมโรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร, สรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลเต่างอย ครั้งที่ 4 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566. โรงพยาบาลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร.

จิรัสย์พล ไทยานันท์. (2566). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในการ คลอดทางช่องคลอดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา. บูรพาเวชสาร, 10(1), 1-17. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/BJmed/article/view/8578

เจนีวา ทะวา. (2566). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา. เอกสารเผยแพร่ผลงานวิชาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2566, 1-16.

โฉมพิลาศ จงสมชัย. (2555). วิกฤติการณ์ทางสูติกรรมที่รุนแรง:ภาวะตกเลือดหลังคลอด. บริษัทรีดีสแกน จำกัด.

ธีรารัตน์ พลราชม. (2562). ภาคผนวกแผนยุทธศาสตร์อนามัยแม่และเด็ก จังหวัดสกลนคร. สืบค้นจากhttps://skko.moph.go.th/dward/ web/index.php?module=mc

นฏกร อิตุพร, ฐิติมา นุตราวงศ์, อมรรัตน์ รัตนสิริ,กุลฑลี บุญประเสริฐ, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา และ ทัศนีย์ ณ พิกุล. (2551). ปัจจัยเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดจากการคลอดทางช่องคลอด:การทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์อภิมาน.เชียงรายเวชสาร, 10, 149-160. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/181800

ณฐนนท์ ศิริมาศ. (2557). การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(2), 37-46. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/21299

ตรีวิจิตร มุ่งภู่กลาง. (2565). ผลลัพธ์ทางสูติศาสตร์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ส่งต่อมาคลอดที่โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 25(3), 1-12. https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/13087

ถิรนัน สาสุนีย์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมงแรก ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ศึกษา, 7(3), 45-56. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/258236

บุษยรัตน์ วงศ์วิริยะเวช, ณัฏฐพร จันทร์แสนโรจน์ และ ชุติมา เทียนชัยทัศน์. (2563). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 1(1), 39-47. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/169857

ราชวิทยาลัย สูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติเรื่องการป้องกันและ

รักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด. สืบค้นจาก http://www.rtcog.or.th/home/wp- Content/uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-andManagement-Of Postpartum- Hemorrhage.pdf

เรณู วัฒนเหลืองอรุณ, วันชัย จันทราพิทักษ์, นุชนาถ กระจ่าง และ รุ่งทิพย์ อ่อนละออ. (2560). ประสิทธิผลของการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกจากมดลูกหดรัดตัว ไม่ดีในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 13(2), 25-42.

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JCP/article/view/179043

วันรัฐ พจนา, เกศกัญญา ไชยวงศา และ ภัทรา สมโชค. (2564). การพัฒนาแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงและแนว ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกโดยการจัดการความรู้โรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(2), 182-194. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/252135

ศิริวรรณ วิเลิศ, ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ และ ดรุณี ยอดรัก. (2559). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการตกเลือดหลังคลอดในมารดาคลอดทางช่องคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรมสามัญ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 173-190.https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/79058/63236

ศิริโสภา คำเครือ, ทัศนีย์ ศรีสุวรรณ และ รุณราภรรณ์ แก้วบุญเรือง. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 8(1), 46-57. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/244139

ศูนย์อนามัยที่ 8 กรมอนามัย. (2562). แบบบันทึกสุขภาพมารดา รบ.1ต 05 กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย.

สมโภชน์ กังวานธีรวัฒน์. (2563). ผลทางสูติกรรมและผลทางปริกำเนิดของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคลอดครั้ง แรกในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(2), 341-348. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/243922

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2563). เครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดสกลนคร: เอกสารสรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก นโยบายงานอนามัยแม่และเด็ก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ 2563. ห้องประชุมราชพฤกษ์ จังหวัดสกลนคร, สรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดสกลนคร. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. จังหวัดสกลนคร.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2563). ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

สำนักส่งเสริมสุขภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. สืบค้นจาก

https://hp.anamai.moph.go.th/th/opdc-2563

Belfort, M. A., Lockwood, C. J., Levine, D., & Barss, V. A. (2022). Overview of postpartumhemorrhage. Retrieved from https://www.uptodate.com/contents/overview-of-postpartumhemorrhage?search=overview-ofpostpartum-hemorrhage.&source=search_ result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1

Clinical Obstetric Gynecology. (2010). Postpartum Hemorrhage: Epidemiology, risk factors, and causes. Mar, 53(1), 147-156. https://doi.org/10.1097/grf.0b013e3181cc406d

Cunningham, F., Leveno, K., Bloom, S., Rouse, D., & Spong, C. (2014). William Obstetrics. 24th ed. New York: McGraw-Hill.

Queensland Maternity and Neonatal Clinical Guideline. (2012). Primary postpartum haemorrhage. Retrieved from https://www.sigo.it/wpcontent/uploads/2015/10/ emorragia_postpartum11.pdf

World Health Organization. (2012). WHO recommendation for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/75411/9789241548502_eng.pdf

World Health Organization. (2020). World Health Statistics. Retrieved from https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad 132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2564-F/IDC1_6/opdc_2564_IDC1-6_01.pdf

World Health Organization, UNICEF, United Nations Population Fund and The World Bank. (2019). Trends in maternal mortality: 2000 to 2017. Retrieved from https://data.unicef.org/topic/maternal-health/maternalmortality/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29

How to Cite

ฒุณฑวุฒิ ป. (2024). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตกเลือดหลังคลอด อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(2), 1–16. https://doi.org/10.57260/stc.2024.749