ระบบขายสินค้าเกษตรกรออนไลน์ ร้านณัฏฐ์นิดาฟาร์ม
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2024.767คำสำคัญ:
ระบบขาย, สินค้าเกษตรกร , สินค้าออนไลน์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างระบบขายสินค้าเกษตรกรออนไลน์ ร้านณัฏฐ์นิดาฟาร์ม 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของระบบขายสินค้าเกษตรกรออนไลน์ ร้านณัฏฐ์นิดาฟาร์ม เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ ระบบขายสินค้าเกษตรกรออนไลน์ และแบบสอบถามความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบขายสินค้าเกษตรกรออนไลน์ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าของกิจการและลูกค้า จำนวน 15 คน ผลการวิจัยคือ 1) ระบบขายสินค้าเกษตรกรออนไลน์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.1) เจ้าของกิจการหรือผู้ดูแลระบบ สามารถจัดการข้อมูลพื้นฐาน เพิ่ม-ลบข้อมูลของสินค้า ตรวจสอบการชำระเงิน ตรวจสอบข้อมูลการจัดส่งสินค้าของลูกค้า และมีการคำนวณสรุปผลการขายสินค้าเกษตรกรประจำวัน / เดือน / ปี 1.2) ผู้ใช้งานหรือลูกค้าสามารถเข้าดูรายละเอียดสินค้า เพิ่มลงในตะกร้า กดชำระเงิน ดูรายละเอียดการสั่งซื้อย้อนหลัง พิมพ์ใบเสร็จ รวมถึงระบบมีการคำนวณค่าส่ง ช่วยลดเวลาในการให้บริการจากร้านค้า 2) ผลการประเมินความพึงพอใจจากแบบสอบถาม สรุปได้ว่าเจ้าของกิจการและลูกค้ามีความพึงพอใจโดยรวมต่อระบบขายสินค้าเกษตรกรออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยทั้งหมด 4.76
References
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรพัฒนาการพัฒนาระบบ. สืบค้นจาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29
จารุณี ภัทรวงษ์ธนา. (2559). การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์สินค้าหัตถกรรมชุมชน ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), 163-175. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/FEU/article/view/59713
ดารณี ภัสสรขจร, ทวีศักดิ์ คำลือ และ ทวีศักดิ์ คำลือ. (2567). การพัฒนาระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(2), 32–43. สืบค้นจาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/756
ณัฐภัทร สุวรรณศิลป์, ปิยะดา กันตรัตนากุล และ กฤติกา สังขวดี. (2566). การพัฒนาระบบซื้อขายสินค้าออนไลน์ กรณีศึกษา: ร้านกลับตานีสาขาพิษณุโลก. วารสารร่มยูงทอง, 1(2), 36-52. สืบค้นจาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/romyoongthong/article/view/1993
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุรีวิยาสาส์น.
พวงรัตน์ จิมพล. (2562). ระบบการจัดเอกสารโดยใช้ฐานข้อมูลแบบกระจายบนเทคโนโลยีเว็บ.
เอกสารใน The 5th National Conference on Computing and information Techmology, 558-893. กรุงเทพมหานคร.
ยุทธศาสตร์ บุญกว้าง. (2562). ระบบจัดการสินค้าคลังร้านเจษฎา. ภาควิชาคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
รัชชานนท์ ใจหมื่น และ อังศนา พงษ์นุ่มกูล. (2566). การพัฒนาระบบจัดการผ้ากะเหรี่ยง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(4), 44–58. สืบค้นจาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/618
วิจิตรา พรหมจรรย์. (2564). มายเอสคิวแอล. สืบค้นจาก https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/topic/show/2940
อธิษา หอมประสิทธิ์. (2563). พฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อจากตลาดออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-8_1630036571
อาทิตย์พร เกษตรสุขใจ. (2561). ระบบขายสินค้าร้านประเสริฐการเกษตร. ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
อารยา ถาพร และ จุฬารัตน์ อักษร. (2564). ระบบขายเสื้อผ้ามือสอง กรณีศึกษาร้านน้องตี้. สืบค้นจาก https://ms.udru.ac.th/bc/assets/project_uploads/
อานนท์ วิเศษรุ่งเจริญ. (2564). ระบบร้านค้าสินค้าเกษตรกรออนไลน์และสินค้าแปรรูป. สืบค้นจาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ