ผลประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการแข่งขันในอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ปภากร สุทธิภาศิลป์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.796

คำสำคัญ:

ชุมชนเกษตร , มาตรฐาน, การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) พืชอาหาร เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกลุ่มเกษตรกรตามปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP พืชอาหาร) ดังข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร : GAP พืช (มกษ. 9001 2556) จำนวน 4 ตำบล 4 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการตรวจประเมิน GAP ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี 2) กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง 3) เกษตรกรม่อนปิ่น ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง และ4) เกษตรกรผู้ปลูกอะโวคาโดบ้านปง ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จากการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP พืชอาหารมีความสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร สามารถยื่นขอรับการรับรองตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหารได้ โดยมีข้อแนะนำในการปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ต้องปรับปรุงแก้ไขสถานที่จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ชีวภัณฑ์ และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ให้เป็นหมวดหมู่พร้อมทั้งมีป้ายบ่งชี้ 2) ปลูกพืชดูดซับบริเวณห้องน้ำ เช่น หญ้าแฝก  3) ต้องอบรม GAP พืชอาหาร 4) ต้องอบรม GAP โรงคัดบรรจุผักและผลไม้ และ 5) ต้องบันทึกข้อมูลทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงาน

References

กฤตติกา เศวตอมรกุล. (2564). การนํานโยบายการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ไปปฏิบัติ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2564.

คณพศ โกสินทร์วิกรม, สุธาทิพย์ การรักษา, จงรักษ์ อิ่มใจ, บุญเลิศ สะอาดสิทธิศักดิ์, สนิทพิพม์ สิมมาทัน, ทิติยา ธานี, ทอม เตียะเพชร, จงรักษ์ จารุเนตร, ศรีเวียง มีพริ้ง และ ศิริกุล โกกิฬา. (2558). การศึกษาและพัฒนาคู่มือการตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืชให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ASEAN GAP. สืบค้นจาก https://www.doa.go.th

จุฑามาศ คนไทย, สาวิตรี รังสิภัทร์ และ พิชัย ทองดีเลิศ. (2562). ความต้องการการผลิตผักตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) ของเกษตรกร ในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. แก่นเกษตร, 47(4), 727-738. DOI:10.14456/kaj.2019.69

ฉันทานนท์ วรรณเขจร. (2566). สศก. ระบุส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปอาเซียนไตรมาสแรกมูลค่าส่งออก 1 แสนล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้า 53,387 ล้านบาท. กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th

พัชรินทร์ สุภาพันธ์, พัชรี อินธนู และ ก้องนเรนทร์ ใจคำปัน. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับมาตรฐานการรับรองตามการผลิตทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 38(3), 152-170. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/MJUJN/article/view/241045

วสันต์ ธรรมสอน, นารีรัตน์ สีระสาร, สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม. (2564). การยอมรับการผลิตลำไยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 11 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564.

วีระศักดิ์ สมยานะ. (2562). การวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 114-127. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/141955

สุนิสา ประไพรตระกูล. (2559). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับพืช. สืบค้นจาก http://www.agriman.doae.go.th/home/news/year%202016/047_gap.pdf

สุวพิมพ์ เลี่ยมมินฟุล และ รสริน โอสถานันต์กุล. (2556). .การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศสมาชิกอาเซียน. Journal of Economics Chiang Mai University, 17(2), 54-70. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/61039

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2561). การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน GAP. สืบค้นจาก https://ssnet.doae.go.th/.pdf

อมรเทพ ถิ่นจันทร์ฉาย, ชยาพร วัฒนศิริ และ พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ. (2555). การประเมินความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรในการผลิตส้มที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ 4-5 กันยายน 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-21

How to Cite

สุทธิภาศิลป์ ป. . (2024). ผลประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการแข่งขันในอาเซียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(5), 1–15. https://doi.org/10.57260/stc.2024.796