ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สถานีสุขภาพบ้านทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • นัยนา อินทรวง โรงพยาบาลเสริมงาม

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.827

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาล, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ จำนวน 60 คน ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือชุดที่ 1 โปรแกรมการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเครื่องมือชุดที่ 2 แบบประเมินความรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Dependent T test  ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ระดับความรู้ในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมระดับความดันโลหิตดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value < 0.05) สรุปผลการวิจัย การใช้โปรแกรมที่มีกิจกรรมหลากหลาย โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการควบคุมความดันโลหิตด้วยตนเอง ส่งผลให้ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปกติ ดังนั้นควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ถูกต้อง และควรนำไปในชุมชนอื่นที่มีลักษณะคล้ายชุมชนตัวอย่างได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2567). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

กัลปนา เพชรอินทร์ และนันทยา เสนีย์. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแล ตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2023(3), NCCR01-NCCR01. สืบค้นจาก https://wjst.wu.ac.th/index.php/stssp/article/view/25794

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษาและพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในโรงพยาบาล. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

จันทร์เพ็ญ มีเพียร. (2567). พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. มหาจุฬานาครทรรศน์, 11(2), 299-310. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/275233

นภารัตน์ ธราพร, รัชนี สรรเสริญ และ จินตนา วัชรสินธุ์. (2565). ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อ การรับรู้ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิต สูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา, 12(2), 55-70. สืบค้นจาก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/nursing/article/view/1033

เรียมใจ พลเวียง และ มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง. (2565). การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดัน โลหิตในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. Journal of Health Science, 31(Supplement 1), 26-35. สืนค้นจาก https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12391/10325

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2560). รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สำหรับสนับสนุนการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2563). การประชุมวิชาการประจําปีครั้งที่ 18 สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. สืนค้นจาก http://thaihypertension.org/files/452_1.Thai%20Hypertension%20Conference%202020.pdf

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562) . แนวทางการรักษา โรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริคธิงค์.

เสาวนีย์ ลาเสือ, ปรวุฒิ เมืองอู่, อภิเชษฐ์ เจริญท้าว และ ศรศักดิ์ ตันตะโนกิจ (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านตันหยงเปาว์ ตําบลท่ากําชํา อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 5(1), 111-120. สืนค้นจาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/cnujournal/issue/view/17

สายฝน สุภาศรี, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์, วราภรณ์ บุญเชียง. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถตนเองและความคาดหวังผลลัพธ์ต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจังหวัด เชียงราย.วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 51(1), 33-42. สืนค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/241251

อัมภากร หาญณรงค์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 52-65. สืนค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/101426

American Heart Association. (2017). Hypertension: Ten ways to control your blood pressure. Retrieved March 8, 2023, Retrieved from http://www.americanheart.org/presenten

Bloom, B. S. (1999). Taxonomy of education objective handbook I: Cognitive domain. New York: David Mc Kay.

Faul, E., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G* Power version 3.1.3: Tests for correlation and regression analysis. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160. Retrieved from https://link.springer.com/article/10.3758/BRM.41.4.1149

Kazuomi, K., Ayako, O., & Satoshi, H .(2024). The WHO Global report 2023 on hypertension warning the emerging hypertension burden in globe and its treatment strategy. Hypertension Research, 47, 1009-1102. Retrieved from https://doi.org/10.1038/s41440-024-01622-w

Mogi, M., Hoshide, S., & Kario, K. (2023). Home blood pressure measurement: the original and the best for predicting the risk. Hypertension Research, 46(7), 1745-1746. Retrieved from https://www.nature.com/articles/s41440-023-01280-4

Moh, R. (2019). Self-care and Related Factors in Hypertensive Patients: a Literature Review. Dinamika Kesehatan Journal, 10(1), 266-276. Retrieved from https://ojs.dinamikakesehatan.unism.ac.id/index.php/dksm/article/view/419

Orem, D. E. (2001). Self-care deficit nursing theory, Nursing: Concepts of practice. McGraw-Hill: New York.

Pender, P. J. (1996). Health Promotion in nursing practice. (3d ed.). Toronto: Prentice Hall. Canada.

Wondmieneh, A., Gedefaw, G., Getie, A., & Demis, A. (2021). Self-Care Practice and Associated Factors among Hypertensive Patients in Ethiopia: A Systematic Review and Meta-Analysis. Int J Hypertens, 2021, 5582547. Retrieved from https://doi.org/10.1155/2021/5582547

World Health Organization. (2023). Global report on hypertension: the race against a silent killer. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2023, p. 1–276.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-17

How to Cite

อินทรวง น. . (2024). ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สถานีสุขภาพบ้านทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(3), 72–89. https://doi.org/10.57260/stc.2024.827