การพัฒนารูปแบบการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ชลธิดา แดงสะอาด โรงพยาบาลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.830

คำสำคัญ:

ความเสี่ยง , การเกิดอุบัติเหตุหกล้ม , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน  259 คน และเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างรูปแบบการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทนผู้สูงอายุ 10 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 5 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 5 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน และนักวิชาการสาธารณสุข 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบสมมติฐานไคสแควส์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า จากกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการออกมาเป็นการสร้างสัญลักษณ์ในการแจ้งเตือนพื้นต่างระดับและการทำอุปกรณ์เคาะเรียกเวลาหกล้มขึ้น การประเมินการใช้แนวทางการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ จากการสร้างแนวทางการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ โดยมีผลจากการตรวจสอบความคิดเห็นความเหมาะสมของสัญลักษณ์ป้องกันการหกล้มในบ้าน มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 18 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความเหมาะสมของแนวทางการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ พบว่า มีระดับความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด การสร้างสัญลักษณ์หรือสร้างอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการป้องกันการหกล้มสามารถนำไปเป็นแนวทางให้กับชุมชนอื่นได้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานสามารถทำได้ทุกครัวเรือน

References

ประพันธ์ มังสระคู. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและภาคีเครือข่าย อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี. สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/305683

ไพลวรรณ สัทธานนท์. (2566). การหกล้มในผู้สูงอายุไทยในเขตเมืองและชานเมือง: อุบัติการณ์ปัจจัยเสี่ยงการจัดการและการป้องกัน. ทุนวิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4310?locale-attribute=th

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พบัลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

รัมภา บุญสินสุข, สายธิดา สาภอนันตสิน และชุธิพัธ จิววะสังข์. (2560). หกล้มเรื่องไม่คาดฝันแต่ป้องกันได้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ลัดดา เถียมวงศ์ และ จอม สุวรรณโณ. (2567). ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว บกพร่องของผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 56-69. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/27821

ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และ กนกพร นทีธนสมบัติ. (2560). การศึกษาแนวทางป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 122-129. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/18441

วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง, กานต์ คำแก้ว, และ วราภรณ์ เล้ารัตนานุรักษ์. (2565). โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การคหะแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:189396

วิลาวรรณ สมตน, ทัศนีย์ รวิวรกุล และ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2566). ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข, 27(3), 58-70. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48170

สำนักงานสำรวจสุขภาพประชากรไทย. (2565). ข้อมูลการสำรวจภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กรุงเทพ.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. (2562). แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อารยา เอกปริญญา และ สมพิศ ฟูสกุล. (2564). รูปแบบพื้นผิวกันกระแทกภายในห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ. Asian Creative Architecture, Art and Design : ACAAD, 12(1), 45-56. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4173

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-21

How to Cite

แดงสะอาด ช. (2024). การพัฒนารูปแบบการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงอายุ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(5), 45–60. https://doi.org/10.57260/stc.2024.830