การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2024.831คำสำคัญ:
การวิเคราะห์กลุ่ม , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) , อัตราการติดเชื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านทั้งหมดในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลวานรนิวาส จำนวน 51 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า ความต้องการช่องทางการติดต่อสื่อสารในการดูแลผู้ป่วยจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างรวดเร็วและในการเดินทางมาขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่ได้ทุกครั้งตามที่ต้องการเป็นปัญหาในการดูแลผู้ป่วยตามหลักเกณฑ์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้าน โดยการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังทดลองใช้กิจกรรมแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value ≤0.001)
สรุปได้ว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่บ้านโรงพยาบาลวานรนิวาส ที่ดำเนินการเป็นระเวลา 3 เดือน ผู้ดูแลผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเห็นได้ชัดเจน
References
กรมการแพทย์. (2563). คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. สืบค้นจาก https://www.dms.go.th
กฤษณา นิลบดี. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.chiangmaihealth.go.th
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลวานรนิวาส. (2566). รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปี 2564-2566. สกลนคร. งานเวชระเบียน โรงพยาบาลวานรนิวาส.
ทัศนีย์ บุญอริยเทพ และ ธภัคนันท์ อินทราวุธ. (2566). ผลของโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้านต่อการรบกวน ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยและภาวะเครียดของผู้ดูแล. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 31(1), 99-113. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/jpph/article/view/14018
เพียงพิมพ์ ปัณระสี และ ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้าน ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30 (1), 40-51. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/download/257441/175304/951451
รัชฎาพร แนบเนียด. (2564). ผลของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้านจิตวิญญาณ. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 8 (2), 65-77. สืบค้นจาก https://backoffice.udpho.org/openaccess/control/download.php?id=MTY3
วิษณุ มงคลคำ. (2563). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าที่เกิดกับผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเขตพื้นที่ให้บริการของโรงพยาบาลนาน้อย จังหวัดน่าน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(2), 291-306. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/jpph/article/download/14369/11992/30341
สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง, กาญจนา วิลัย. (2561). ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะท้าย ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลักหลังใช้แนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองที่บ้านในเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 16(2), 104-17. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/242647
สุยันต์ ลวงพิมาย. (2566). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อเนื่องที่บ้านแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 44-53. สืบค้นจาก https://he04.tci-thaijo.org/index.php/AJNHS/article/view/193
อรพินทร์ ชูชม. (2545). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก http://syllabus.swu.ac.th/old/2549_2/1802502M01/Doc/Syllabus.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ