ผลของโปรแกรมการจัดการโรคไตเรื้อรังโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ในโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ราวดี โคตรพรหม โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.835

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการ , การดูแลโรคเรื้อรัง , ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) นี้ เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และระยะที่ 4 โดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือผู้ป่วยเพศหญิงที่มารับการนอนโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงตึกอินทนิล โรงพยาบาลวานรนิวาส จำนวน 20 ราย เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด วิเคราะห์โดยใช้สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษาพบว่าการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ด้านอาหาร ด้านการใช้ยา การควบคุมระดับความดันและน้ำตาล การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด การจัดการความเครียด ทั้งหมดมีระดับคะแนนเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมก่อนและหลังการทดลองโดยการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกค่าเฉลี่ย BUN (Blood urea nitrogen) ก่อนการใช้โปรแกรม 24.61 mg/dl ค่าเฉลี่ย BUN 18.23 mg/dl ค่าเฉลี่ย Creatinine 2.24 หลังการใช้โปรแกรม ค่า BUN มีค่าเท่ากับ 1.39 eGFR มีค่าเท่ากับ 22.36 มล./นาที มีค่าเท่ากับ 44.45 มล./นาที
การที่ผู้ป่วยได้รับความรู้และการดูแลอย่างใกล้สามารถส่งผลใหผู้ป่วยชะลอความเสื่อมของไตได้   ซึ่งรูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และระยะที่ 4  ในโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร สามารถนำไปเป็นข้อมูลสนับสนุนหรือเป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขาไต. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://phdb.moph.go.th/main/index/detail/29296

กัลยารัตน์ รอดแก้ว. (2561). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน น้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(2), 13-28. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/139072

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลวานรนิวาส. (2566). รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปี 2564-2566. สกลนคร. งานเวชระเบียน โรงพยาบาลวานรนิวาส.

ธวัช วิเชียรประภา, วรรณี เดียวอิศเรศ และ ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์. (2566). รูปแบบบูรณาการศาสตร์เพื่อชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในจังหวัดจันทบุรี. วารสารรำไพพรรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 17(1), 151-164. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/265127

ปริตรา มั่นเหมาะ และ ธนัญญา วสุศรี. (2562). การจำลองสถานการณ์เพื่อลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 15(2), 51-62. สืบค้นจาก https://he01.tcithaijo.org/index.php/IJPS/article/download/124738/132900/558685

วัชรพงศ์ วีรกุล. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังต่อการชะลอไตเสื่อม. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 5(2),133-44. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/257182

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2560). การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 17-24. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101576

สุภาพ สุทธิสันต์ชาญชัย. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ของคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 40(2), 255-67. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/251835

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, (2563). ข้อมูลการบําบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2563. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย วาระปี 2563-2565. สืบค้นจาก https://www.nephrothai.org

สุวคนธ์ เหล่าราช และ ละออง เดิมทำรัมย์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 99-111. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jrhi/article/view/252509

สุวรรณา สุรวาทกุล, สุวคนธ์ เหล่าราช และ ละออง เดิมทำรัมย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 อำเภอนาดูน. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(7), 129-142. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/AJMP/article/view/9017

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

โคตรพรหม ร. (2024). ผลของโปรแกรมการจัดการโรคไตเรื้อรังโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ในโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(4), 60–73. https://doi.org/10.57260/stc.2024.835