การศึกษาความรู้ ความเชื่อมั่นในตนเอง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วรวิช ชักชวน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พรรณพัตสา คำวัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ภาณุพงศ์ พรมเมือง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พัชรินทร์ วินยางค์กูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เนตรา สมกำลัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วิมลมณี เมฆขำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2025.913

คำสำคัญ:

ความรู้, ความเชื่อมั่นในตนเอง, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า, อาหารที่มีโซเดียม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเชื่อมั่นในตนเองและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ใช้รูปแบบวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง และเป็นการวิจัยเชิงสำรวจชุมชน เก็บข้อมูลในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า จำนวน 211 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล  ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีปริมาณโซเดียม พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม  และความเชื่อมั่นตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโซเดียม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความรู้ ความเชื่อมั่นตนเอง และพฤติกรรมการบริโภคโซเดียม และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยใช้การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พร้อมทั้งวิเคราะห์ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 41-59 ปี น้ำหนัก 51-70 กิโลกรัม ส่วนสูง 151-170 เซนติเมตร ค่าดัชนีมวลกาย 18.50-22.90 กก./ม² ความดันโลหิตอยู่ในระดับดี การศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาและไม่มีโรคประจำตัว กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีปริมาณโซเดียม อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 56.40) พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 82.90)  ความเชื่อมั่นตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโซเดียม อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.20)  และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับ ความรู้ ความเชื่อมั่นตนเองและพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

References

กรมควบคุมโรค. (2559). ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2568. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรงพยาบาลเค็มน้อย แนวทางการดำเนินงาน อร่อย (3) ดี. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมโรค.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). รายงานผลโครงการชุมชนลดเค็ม ลดโรคต้นแบบ. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมโรค.

ไกรสิทธิ์ จามรจันทร์สาขา, อนันตา สุขวัฒน์, รุ่งโรจน์ ต้นประดิษฐ และ อาภิสรา พลนรัตน์. (2564). การเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมวัฒนธรรมของชาวอาข่าดอยผาหมีจังหวัดเชียงรายในรอบปี. วารสารนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 5(2), 161-182. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawcrru/article/view/246341

ประทุม เมืองเป้ และ วุฒิชัย จริยา. (2566). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมลดการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(1), 1-10. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/JHS/article/download/13288/10861/23442

สกุณา กัณหาสุระ และ พรพิมล ชูพานิช. (2566). พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงของผู้ใหญ่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(4), 1-15. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/263890

สิทธิพงศ์ ยิ้มสวัสดิ์. (2566). ความชุกของการบริโภคโซเดียมสูงในประชากรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(3), 98-110. สืบค้นจาก https://thaidj.org/index.php/JHS/article/download/14220/11474/26344

สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชน. (2564). เรื่องเล่าจากชุมชน (2) ‘มหาวิทยาลัยชนเผ่าอาข่า’ สืบสานวัฒนธรรมประเพณี สร้างวิชา “สร้างความรู้ที่กินได้”. สืบค้นจาก https://web.codi.or.th/20210112-20703/

สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชน. (2566). ‘ครัวอ่าข่า’ อาหารปรับสมดุลร่างกาย ‘ดิน น้ำ ลม ไฟ’. สืบค้นจาก https://web.codi.or.th/index.php/20230203-42644/

อรทัย พรมแก้ว, มาลัยพร ล้วนศรี, รุ่งศิรินัตน์ ครองยุติ และ วรางคนา ใจสู้ศึก. (2565). การศึกษาความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของประชากรในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ สคร., 28(1), 9-15. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/251355

อัมภากร หาญณรงค์, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และ สมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, 25(3), 52-63. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/101426

World Health Organization. (2021). Sodium reduction. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13

How to Cite

ชักชวน ว. ., คำวัง พ. ., พรมเมือง ภ. ., วินยางค์กูล พ., สมกำลัง เ. ., & เมฆขำ ว. (2024). การศึกษาความรู้ ความเชื่อมั่นในตนเอง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 3(1), 14–30. https://doi.org/10.57260/stc.2025.913