ผลของการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ยองใย นนท์มหา โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.928

คำสำคัญ:

การติดเชื้อกระแสเลือด , ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ , SOS Score

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและเปรียบเทียบความรู้และทักษะการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 79 ราย โดยใช้แบบสอบถามความรู้และทักษะการปฏิบัติตามแบบประเมิน SOS Score ในการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ SOS Score ของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test 
ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลภายหลังการพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด พบผู้ป่วยมีภาวะช็อกลดลงเป็นร้อยละ 9.09 จากเดิม ร้อยละ 22.86 และไม่พบอัตราการเสียชีวิต พยาบาลวิชาชีพมีผลของคะแนนความรู้ก่อนและหลังการพัฒนาความรู้ในการใช้ SOS Score เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงร้อยละ 7.75 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p=.003) พยาบาลวิชาชีพมีทักษะการปฏิบัติตามแบบประเมิน SOS Score ในการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 83.52 สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p= .001) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับมากร้อยละ 80.95 ต่อการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วย ทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานทางสถิติ อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/h dc/reports/

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลเต่างอย. (2566). รายงานสถิตผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเต่างอยจังหวัดสกลนคร. โลหิตเป็นพิษ Sepsis. [HOSXP].

ณัฐธยาน์ วงศ์ประเทศ. (2566). ผลของการใช้SOS Score ต่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสังคม. สืบค้นจาก https://nkhospital.moph.go.th/doc/journal/69.pdf

ทิฏฐิ ศรีวิชัย และ วิมล อ่อนเส็ง. (2560). ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน.วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 9(2), 152-162. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/115993

ฑิตยา วาระนัง. (2562). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร, 11(1), 1-8. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/179719

นันธิดา พันธุศาสตร์ และ ราตรี ยูทอง. (2560). แนวปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(2), 1-13. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/118894

นาตยา บุญสุข. (2566). ผลการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(7), 286-296. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/270757

น้ำฝน พรหมสูตร และ วีนัสรินทร์ ประสมศรี. (2566). ผลของการใช้แบบประเมิน SOS score ต่อ ทักษะการประเมินของพยาบาลวิชาชีพและความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 6(2), 40-49. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/263536

เนตรญา วโรจวานิช. (2561). ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 12(1), 84-94. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/NurseNu/article/download/161554/116499/447284

ประกาศิต เทนสิทธิ์, ชยันตร์ธร ปทุมานนท์, สุขี พบลาภ, ชลิสา นันทสันติ และ ธนิตา มนตรี. (2563). ปัจจัยที่ผลต่อการเสียชีวิตเร็วและช้าในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(1), 101-109. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/241282

สุรางค์ ช่างเหล็ก. (2564). ผลการพัฒนาความรู้และทักษะพยาบาลวิชาชีพในการประเมินผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 4(2), 4-14. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/250890

สมาคมเวชปฏิบัติวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ Septic shock. สืบค้นจาก https://criticalcarethai.org/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2566). สถานการณ์อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดสกลนคร. สกลนคร.

Amland, R. C., & Hahn-Cover, K. E. (2016). Clinical decision support for early recognition of sepsis. American Journal of Medical Quality, 31(2), 103–110. Retrieved from https://doi.org/10.1177/1062860619873225

Bloom, B. S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. Losangeles: University of California at Los Angeles.

Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company.

World Health Organization. (2023). Global health estimates 2015 summary table. สืบค้นจาก http://www.who.int/heal thinfo/global _burden_disease/estim ates/en/index1.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29

How to Cite

นนท์มหา ย. (2024). ผลของการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(6), 30–47. https://doi.org/10.57260/stc.2024.928