ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มีธาลัสซีเมียร่วมด้วยในสตรีตั้งครรภ์โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

ผู้แต่ง

  • ตรีวิจิตร มุ่งภู่กลาง โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2025.932

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจาง , สตรีตั้งครรภ์ , ธาลัสซีเมีย , ภาวะขาดธาตุเหล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาความชุกของภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ และสาเหตุของภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่มาฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร ในระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 176 ราย โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า จากจำนวนสตรีตั้งครรภ์ 176 ราย มีอายุเฉลี่ย 28.60 ปี ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติคิดเป็น 62.50 % (110 ราย) ค่าฮีมาโตคริตเฉลี่ย 32.90 % ค่าฮีโมโกลบินเฉลี่ย 10.30 g/dL ค่าซีรั่มเฟอร์ริตินเฉลี่ย 77.30 (µg/L) ตรวจพบภาวะขาดธาตุเหล็ก 25 % (44 ราย) คือพบภาวะขาดธาตุเหล็กชนิดรุนแรง 10.20 % (18 ราย) และพบภาวะขาดธาตุเหล็กชนิดปานกลาง 14.80 % (26 ราย) เมื่อนำกลุ่มที่มีภาวะขาดธาตุเหล็กมาวิเคราะห์ใช้สถิติการถดถอยโลจิสติกส์วิเคราะห์ พบว่า ชนิดของโลหิตจางธาลัสมีซีเมียสัมพันธ์กับการเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กร่วมด้วย (p = 0.021, odd ratio = 0.708 (95 % CI, 0.528-0.949)) จากจำนวนสตรีตั้งครรภ์ทั้งหมดตรวจพบภาวะโลหิตจางธาลัสซีเมีย 71.60 % (126 ราย) ชนิดที่พบมากที่สุด คือ พาหะธาลัสซีเมียชนิดอี 47.70 % (84 ราย) พบสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางธาลัสซีเมียและมีภาวะขาดธาตุเหล็กร่วมด้วยคิดเป็น 14.20 % (25 ราย) และเมื่อศึกษาเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ในกลุ่มนี้พบว่าสัมพันธ์กับพาหะธาลัสซีเมียชนิดอีมากกว่าธาลัสซีเมียชนิดอื่น (p = 0.020, odd ratio = 0.365 (95 % CI,0.1568- 0.8509)) จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะขาดธาตุเหล็กยังเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของสตรีตั้งครรภ์จังหวัดสกลนครและยังตรวจพบภาวะขาดธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์ที่มีโลหิตจางธาลัสซีเมียด้วย

References

คลังสุขภาพแห่งชาติ. (2563). ข้อมูลภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. สืบค้นจากhttps://snk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

ประชาธิป พลลาภ, จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ, ชลิดา วรสาร, ดำรง กุดวิฬา, ยรรยง ไชยขันธุ์, ภัทระ แสนไชยสุริยาม กุลนภา ฟู่เจริญม สุพรรณ ฟู่เจริญ และ กนกวรรณ แสนไชยสุริยา. (2553). ธาลัสซีเมียและภาวะขาดเหล็กในสตรีตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 22(3), 262-270. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ams/article/view/66191

ปารรัตน์ วุฒิเจริญวงศ์. (2563). ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(1), 43-51. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/241454

วราภรณ์ ปู่วัง. (2563). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่คลอดโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 3(1), 18-27. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/NHEJ/article/view/238132

ศิริฉัตร รองศักดิ์, ประนอม พูลพัฒน์ และ มยุรัตน์ รักเกียรติ. (2560). ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอด ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 39-47. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/101714

Bencaiova, G., & Breymann, C. (2014). Mild anemia and pregnancy outcome in a Swiss collective. Journal of Pregnancy, 2014, 307535. Retrieved from https://doi.org/10.1155/2014/307535

Berwal, V., Kyal, A., Dessa, D., Bhowmik, J., Mondal, P., & Mukhopadhyay, P. (2018). Pregnancy with thalassemia: challenges and outcomes. International Journal of Reproduction, Contraception, Obstetrics and Gynecology, 7(4), 1613. Retrieved from https://doi.org/10.18203/2320-1770.ijrcog20181365

Chang, S., Zeng, L., Brouwer, I. D., Kok, F. J., & Yan, H. (2013). Effect of iron deficiency anemia in pregnancy on child mental development in rural China. Pediatrics, 131(3), e755-63. Retrieved from https://doi.org/10.1542/peds.2011-3513

Hanprasertpong, T., Kor-anantakul, O., Leetanaporn, R., Suntharasaj, T., Suwanrath, C., Pruksanusak, N., & Pranpanus, S. (2013). Pregnancy outcomes amongst thalassemia traits. Archives of Gynecology and Obstetrics, 288(5), 1051–1054. Retrieved from https://doi.org/10.1007/s00404-013-2886-9

Loy, S. L., Lim, L. M., Chan, S.-Y., Tan, P. T., Chee, Y. L., Quah, P. L., Chan, J. K. Y., Tan, K. H., Yap, F., Godfrey, K. M., Shek, L. P.-C., Chong, M. F.-F., Kramer, M. S., Chong, Y.-S., & Chi, C. (2019). Iron status and risk factors of iron deficiency among pregnant women in Singapore: a cross-sectional study. BMC Public Health, 19(1), 397. Retrieved from https://doi.org/10.1186/s12889-019-6736-y

Modell, B., & Darlison, M. (2008). Global epidemiology of haemoglobin disorders and derived service indicators. Bulletin of the World Health Organization, 86(6), 480–487. Retrieved from https://doi.org/10.2471/blt.06.036673

Sekhavat, L., Davar, R., & Hosseinidezoki, S. (2011). Relationship between maternal hemoglobin concentration and neonatal birth weight. Hematology (Amsterdam, Netherlands), 16(6), 373–376. Retrieved from https://doi.org/10.1179/102453311X13085644680186

Siriwong, O. (2012). Anemia in pregnant women attending the Antenatal Care Clinic, Mae Sot Hospital. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, 20(4), 186–190. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjog/article/view/4687

Smith, C., Teng, F., Branch, E., Chu, S., & Joseph, K. S. (2019). Maternal and perinatal morbidity and mortality associated with anemia in pregnancy. Obstetrics and Gynecology, 34(6), 1234–1244. Retrieved from https://doi.org/10.1097/AOG.0000000000003557

Thinkhamrop, J., Apiwantanakul, S., Lumbiganon, P., & Buppasiri, P. (2003). Iron status in anemic pregnant women. The Journal of Obstetrics and Gynaecology Research, 29(3), 160–163. Retrieved from https://doi.org/10.1046/j.1341-8076.2003.00094.x

Thongperm, W., Chaisen, M., Chunchom, Y., Aueduldecha, S., & Sarakul, O. (2018). Preliminary study for the prevalence and causes of anemia in pregnant women attending an Antenatal Care Unit in different periods of gestation. Journal of Associated Medical Sciences, 51(3), 122–127. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bulletinAMS/article/view/111918

World Health Organization. (2017). Nutritional anaemias: tools for effective prevention and control. Who.int; World Health Organization. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/9789241513067

Yamane, T. (1973). Statistics An Introductory Analysis. (3rd ed.). Harper and Row, New York. - references - scientific research publishing. (n.d.). Scirp.org. Retrieved from https://www.scirp.org/reference/ReferencesPapers?ReferenceID=1655260

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13

How to Cite

มุ่งภู่กลาง ต. (2024). ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่มีธาลัสซีเมียร่วมด้วยในสตรีตั้งครรภ์โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 3(1), 45–58. https://doi.org/10.57260/stc.2025.932