สภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูป ของเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากกาบหมาก

ผู้แต่ง

  • ชาญณรงค์ เรืองขจร ภาควิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2
  • อภิชาติ เถื่อนพรม ภาควิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2
  • ภูวสิษฎ์ เสียมสกุล ภาควิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2025.941

คำสำคัญ:

การขึ้นรูปภาชนะ , กาบหมาก , ระยะเวลาในการเคลื่อนที่ของโมลด์ , ความหนาของวัสดุ , กระบวนการบีบอัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากกาบหมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากกาบหมาก ศึกษาระยะเวลาและระยะห่างในการเคลื่อนที่ของโมลด์ที่มีผลต่อการบีบอัด ศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูปภาชนะ ศึกษาความหนาของกาบหมากที่มีผลต่อการขึ้นรูปภาชนะ และศึกษาภาชนะที่ช่วยลดปัญหาขยะจากขยะพลาสติก โดยคณะผู้วิจัยได้สร้างเครื่อง 12 VDC 44 รอบต่อนาที สเตอร์ 18 ฟัน ลูกปืนตุ๊กตา 1.50 นิ้ว เพลาสตัดเกลียวตลอด 1 นิ้ว  โมลด์แม่พิมพ์ขนาด 3 กิโลกรัม พื้นที่หน้าตัด 200 มิลลิเมตร วัสดุจากธรรมชาติที่ใช้คือกาบหมาก ขณะเครื่องทำงานควบคุมอุณหภูมิที่ 120 องศาเซลเซียส โดยใช้การควบคุมสั่งการผ่านโปรมแกรม Arduino UNO รุ่น R3 แบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ ผลการทดลองที่ 1 ศึกษาระยะเวลาและระยะห่างในการเคลื่อนที่ของโมลด์ที่มีผลต่อการบีบอัด โดยการทดลองเปลี่ยนระยะเวลาเป็น 11, 12, 13, 14 วินาที ทำให้ค่าเฉลี่ยระยะห่างของโมลด์มีค่า เท่ากับ 6.87, 3.41, 1.70, 0.85 เซนติเมตร  จะได้ค่าความเค้นเท่ากับ 0.134, 0.190, 0.214, 0.224 N/m2  ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ศึกษาระยะเวลาในการขึ้นรูปภาชนะ โดยการทดลองระยะเวลาในการขึ้นรูปภาชนะโดยมีระยะเวลาเป็น 0, 30, 60, 90, 120 วินาที พบว่า ที่ระยะเวลาในการขึ้นรูป 120 วินาที ลักษณะของภาชนะมีรูปทรงตามที่ต้องการ บริเวณขอบภาชนะมีลักษณะบิดเบี้ยวเล็กน้อย มีความโค้งงอของภาชนะเล็กน้อย การทดลองที่ 3 ศึกษาความหนาของวัสดุธรรมชาติที่มีผลต่อการขึ้นรูป ที่ความหนาของกาบหมากเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 0.5 – 0.9, 1.0 – 1.4, 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร พบว่าความหนา 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร ลักษณะของกาบหมากมีรูปทรงคงรูปตามมาตราฐาน  จากการทดลองทั้ง 3 การทดลอง ในการกำหนดเงื่อนไขของเครื่องขึ้นรูปภาชนะ ได้ดังนี้ ระยะเวลาในการเคลื่อนที่ของโมลด์ที่มีผลต่อการบีบอัดที่เหมาะสมที่สุดคือ 14 วินาที ระยะเวลาในการขึ้นรูปภาชนะ 120 วินาที ความหนาของวัสดุจากธรรมชาติที่ 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร นำมาขึ้นรูปได้รูปทรงสวยตามต้องการ สามารถทำให้เราได้ภาชนะตามที่ต้องการ มีรูปทรงสวย พร้อมนำไปใช้ประโยชน์

References

กิตติศักดิ์ เมืองกลาง, ณัฐพงษ์ รักด่านกลา, ณัฐวุฒิ ดงกระโทก, ทักษ์ดนัย จันทีนอก และ ธรรณธร ชิดการ เมืองกลาง. (2564). เครื่องขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 65-76. สืบค้นจาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/journalindus/article/view/245508

ไกรสร วงษ์ปู่ และ ปริดา จิ๋วปัญญา. (2564). การออกแบบและพัฒนาเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากใบบัว. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 6(1), 19-27. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/RMUTLEngJ/article/view/244627

จริญญา มีมุสิทธิ์, ศิริวรรณ ชูช่วย, จิระพงศ์ แก้วเจริญ และ เกษมสิทธิ์ ตั้งจรัสสุวรรณ. (2564). เครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหารภาชนะบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติปลอดสารพิษ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิศวกรรมการผลิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ณฐมน ทรัพย์บุญโต, รสริน จอห์นสัน, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล และ มงคลกร ศรีวิชัย. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 33-53. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/256320

ดิสร พิณทอง, พิชัย สดภิบาล และ ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2560). การพัฒนาเครื่องอัดแผ่นจากวัสดุธรรมชาติ. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(1), 98-111. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/91022

นากร เมียงอารมณ์ และ ธิติมา เกตุแก้ว. (2567). การพัฒนาเครื่องขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหารจากวัสดุธรรมชาติ. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 24(1), 181- 201. สืบค้นจาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/adscij/article/view/647

เพชรา บุดสีทา และ อําไพ แสงจันทร์ไทย. (2567). การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร จังหวัดกําแพงเพชร. วารสารสกวิทยาเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(2), 1-17. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/275484

ลัดดาวัลย์ จำปา, นัฐพงษ์ ทองปาน, นันทวัน หัตถมาศ, มลฤดี โอปมาวุฒิกุล, กัญญา ภัทรกุลอมร และ พรอารีย์ ศิริผลกุล. (2556). การถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากเยื่อเศษอ้อยในรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการเติบโตของชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 15(2), 24-38. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/view/267736

วรพจน์ แซงบุญเรือง, ถนัดกิจ ศรีโชค, อัครวุฒิ เดือนเพ็ญ และ ชานนท์ แนวจำปา. (2565). การออกแบบการทดลองและพัฒนาสร้าง รูปแบบถ้วยจากผักตบชวา. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 53-66. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/243242

ศุภชัย หลักคำ และ พลรัชต์ บุญมี. (2562). การศึกษาความสามารถการรับความเค้นดัดของวัสดุผนังหนาและการดูดซับพลังงานของวัสดุสี่เหลี่ยมตันที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, 14(1), 40-51. สืบค้นจาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/view/221206

อังกาบ บุญสูง. (2566). การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากฟางข้าวด้วยกระบวนการ BCG. วารสารดีไซน์เอคโค, 4(2), 2-16. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/266436

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-16

How to Cite

เรืองขจร ช. ., เถื่อนพรม อ. ., & เสียมสกุล ภ. . (2025). สภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูป ของเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากกาบหมาก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 3(2), 14–24. https://doi.org/10.57260/stc.2025.941