การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการนวดไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนและการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • อรุณี สิงห์รอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่สุขเกษม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
  • ธีรยา วรปาณิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก
  • ภรภัทร ดอกไม้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
  • ปรายดาว เทพลำลึก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2024.943

คำสำคัญ:

การนวดไทย, การออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตน , ประคบสมุนไพร , ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการนวดไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนและการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง จำนวน 70 คน จากการคำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*power version 3.1.9.7 แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการนวดไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตน จำนวน 35 คน และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพร จำนวน 35 คน ประเมินอาการปวดก่อนและหลังการรักษา จำนวน 2 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินอาการปวดเป็นระยะเวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Paired Sample t-test และค่า Independent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการนวดไทยร่วมกับออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนและกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรช่วยลดอาการปวดในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความความเจ็บปวดระหว่างกลุ่ม พบว่า การนวดไทยร่วมกับออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง ได้มากกว่าการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (p < .05)  ดังนั้นควรส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตน เพื่อช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ช่วยให้สุขภาพดีและป้องกันอาการปวดได้ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยท่าฤาษีดัดตนร่วมกับการนวดไทยจะช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ยาแก้ปวด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

References

กุลิสรา อนันต์นับ และ วรัญญา ติโลกะวิชัย. (2563). พฤติกรรมของคนทำงานกับการใช้แอปพลิเคชันสำหรับลดความเสี่ยงจากออฟฟิศซินโดรมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(2), 47-63. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/article/view/248085

ณรงค์ศักดิ์ จันทะวัง, ปฏิคม พาสว่าง, อำภา คนซื่อ, รัฐ สอนสุภาพ และ นิรันดร์ อินทรัตน์. (2566). การตรวจคัดกรองโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง: การเปรียบเทียบระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วยทางหัตถเวชกรรมไทยกับการตรวจทางรังสีวินิจฉัย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 21(1), 42-57. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JTTAM/article/view/257196/177220

ธนภรณ์ ทีเหล็ก, อำพล บุญเพียร และ ปฐมา จันทรพล. (2563). ผลของการนวดน้ำมันลำโพงกาสลักต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรมในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางกายแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(3), 408-419. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/247656

มัณฑนา วัชรินทร์รัตน์ และ ธนัชพร คงไชย. (2561). เทคโนโลยีที่ใช้รักษาออฟฟิศซินโดรม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(3), 479-491. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/156241

วิไลลักษณ์ สุกใส, โสภิดา สุขสวัสดิ์ และ สถาพร สัตย์ซื่อ. (2562). ผลของการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนต่ออาการปวดต้นคอและองศาการเคลื่อนไหวของต้นคอของผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19(ฉบับเสริม), S106-S115. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tmj/article/view/243871

สมโรจน์ จิริวิภากร. (2565). การป้องกันและรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมสำหรับกองกำลังพลกองทัพอากาศแบบองค์รวม. แพทยสารทหารอากาศ, 68(1), 40-48. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/rtafmg/article/view/255568

สุวภัทร บุญเรือน. (2564). ผลของการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหาร มณีเวชของผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(1), 91-105. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/248506

สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์, วีรภัทร พิลึก, คณาพงษ์ เกิดแสง และ ชฎารัตน์ เหลืองอร่าม. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาหม่องดำตำรับยาทาพระเส้นรูปแบบแท่ง เพื่อบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรมสำหรับบุคลากรอาจารย์และนักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(3), 72-85. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/252997/174671

โสภา ลี้ศิริวัฒนากุล, คณิสร เจริญกิจ และ วิภารัตน์ ภิบาลวงษ์. (2562). ผลของโปรแกรมการนวดไทยต่อกลุ่ม อาการออฟฟิศซินโดรมของบุคลากร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(2), 129-141. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/214906

อำพล บุญเพียร, ธิดารัตน์ แจ่มปรีชา และ นิภาพร แสนสุรินทร์. (2562). ผลของการนวดด้วยน้ำมันกระดูกไก่ดำและน้ำมันไพลต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรม. วารสารการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก, 17(1), 95-105. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JTTAM/article/view/186333

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29

How to Cite

สิงห์รอ อ. ., วรปาณิ ธ., ดอกไม้ ภ. ., & เทพลำลึก ป. . (2024). การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการนวดไทยร่วมกับการออกกำลังกายด้วยฤาษีดัดตนและการนวดไทยร่วมกับประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(6), 14–29. https://doi.org/10.57260/stc.2024.943