ประสิทธิผลของการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชร่วมกับการนวดไทยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมที่มารับบริการในคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเรื่อง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา อินสอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเรื่อง
  • ธีรยา วรปาณิ กองบริหารการสาธารณสุข
  • ภรภัทร ดอกไม้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
  • ปรายดาว เทพลำลึก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2025.951

คำสำคัญ:

ศาสตร์มณีเวช , การนวดไทย , โรคออฟฟิศซินโดรม , อาการปวด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชร่วมกับการนวดไทยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมที่มารับบริการในคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำเรื่อง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 35 คน จากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*power version 3.1.9.7 ประเมินคะแนนเฉลี่ยอาการปวดและระดับความพึงพอใจ ก่อนและหลังการรักษา ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง เป็นระยะเวลา 5 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าความถี่ ร้อยละ และ ค่า Paired sample t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มาด้วยอาการปวดแขน ชาแขน ชาปลายนิ้ว โดยกลุ่มส่วนใหญ่มีอาการปวดที่บริเวณหลัง บ่า สะบัก ต้นคอ และไหล่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากอิริยาบถไม่ถูกต้องและทำงานหนัก โดยมีอาการปวด 3-5 วัน ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน ร้อยละ 94.29 และเคยมีประสบการณ์การเข้ารับบริการด้วยการนวดไทย ร้อยละ 22.86 นอกจากนี้ พบว่า หลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้รับการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชร่วมกับการนวดไทยมีอาการปวดลดลงมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value < 0.05) โดยหลังทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดเป็น 4.49, 3.26 และ 1.80 ตามลำดับ เมื่อประเมินค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ พบว่า หลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้รับการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชร่วมกับการนวดไทยมีความพึงพอใจมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value < 0.05)  โดยมีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจเป็น 4.60, 4.71 และ 4.89 ตามลำดับ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้มีการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชร่วมกับการนวดไทย เพื่อใช้เป็นทางเลือกในการรักษาอาการปวดจากโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวช เพื่อช่วยปรับสมดุลโครงสร้างของร่างกาย ลดอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน และช่วยให้สุขภาพดีอย่างยั่งยืน

References

ณรงค์ศักดิ์ จันทะวัง, ปฏิคม พาสว่าง, อำภา คนซื่อ, รัฐ สอนสุภาพ และ นิรันดร์ อินทรัตน์. (2566) การตรวจคัดกรองโรคลมปลายปัตฆาตสัญญาณ 4 หลัง: การเปรียบเทียบระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วยทางหัตถเวชกรรมไทยกับการตรวจทางรังสีวินิจฉัย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 21(1), 42-57. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JTTAM/article/view/257196

ดลยา ถมโพธิ์, ลัดมะณี ศรีชา และ สุนิษา ชูแสง. (2564). การศึกษาประสิทธิผลของการนวดกดจุด ประคบ และพอกสมุนไพร เพื่อบำบัดอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อมของโรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36(2), 391-402. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/252859/172022

ธนภรณ์ ทีเหล็ก, อำพล บุญเพียร และ ปฐมา จันทรพล. (2563). ผลของการนวดน้ำมันลำโพงกาสลักต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรมในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางกายแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(3), 408-419. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/247656

นวรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์, มุสตูรา ยะโกะ และ เดียร์นา แม็ง. (2564). ผลของการบริหารร่างกายส่วนบนด้วยท่ามณีเวชต่ออาการปวดกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนในผู้สูงอายุตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 92-100. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/252833

พัชรินทร์ สังวาลย์, พรรณสุกิตต์ ทาทอง และ ลานนา หมื่นจันทร์. (2564). ผลของการออกกำลังกายแบบมณีเวชต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของหนักงานสายสนับสนุนที่ทำงานในสำนักงานของมหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(2), 251-263. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/256662

วิราวรรณ ขันสู้. (2566). ผลการนวดแบบราชสำนักร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 4 ท่า ในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับไฮ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน, 1(1), 16-29. สืบค้นจาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/pthjo/article/view/593

วีระยุทธ แก้วโมกข์. (2560). ผลการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของผู้สูงอายุ. บูรพาเวชสาร, 4(1), 31-39. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/BJmed/article/view/133198

วิไลลักษณ์ สุกใส, โสภิดา สุขสวัสดิ์ และ สถาพร สัตย์ซื่อ. (2562). ผลของการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนต่ออาการปวดต้นคอและองศาการเคลื่อนไหวของต้นคอของผู้ป่วยโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19(ฉบับเสริม), S106-S115. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tmj/article/download/243871/165768

สุจิตรา บุญมาก. (2563). ผลของการนวดไทยต่อผู้ป่วยอาการปวดข้อเข่าและอาการข้อเข่าฝืดในคลินิกการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 518-532. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/244350/167124

สุวภัทร บุญเรือน. (2564). ผลของการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหาร มณีเวชของผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(1), 91-105. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/248506

โสภา ลี้ศิริวัฒนากุล, คณิสร เจริญกิจ และ วิภารัตน์ ภิบาลวงษ์. (2562). ผลของโปรแกรมการนวดไทยต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของบุคลากร. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(2), 129-141. สืบค้นจาก http://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/214906

อำพล บุญเพียร, ธิดารัตน์ แจ่มปรีชา และ นิภาพร แสนสุรินทร์. (2562). ผลของการนวดด้วยน้ำมันกระดูกไก่ดำและน้ำมันไพลต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 17(1), 95-105. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JTTAM/article/view/186333

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13

How to Cite

อินสอน เ. ., วรปาณิ ธ. ., ดอกไม้ ภ. ., & เทพลำลึก ป. . (2024). ประสิทธิผลของการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชร่วมกับการนวดไทยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมที่มารับบริการในคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเรื่อง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย . วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 3(1), 31–44. https://doi.org/10.57260/stc.2025.951