ปัจจัยกำหนดสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของประชาชนในอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ เรือนมูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สิวลี รัตนปัญญา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2025.954

คำสำคัญ:

ปัจจัยกำหนดสุขภาพ , กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 , โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยกำหนดสุขภาพที่ที่มีอิทธิพลต่อต่อการเกิดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของประชาชนในอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วยที่ 1) ปัจจัยระดับปัจเจกบุคคล 2) ปัจจัยระหว่างบุคคล 3) ปัจจัยระดับชุมชน และ 4) ปัจจัยระดับสังคม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และประชาชนทั่วไป  เป็นผู้ไม่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวนทั้งหมด 290 คน วิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบหาปัจจัยกำหนดสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของประชาชนในอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ด้วยสถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค
ผลการศึกษาปัจจัยระดับปัจเจกบุคคล พบว่า ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงกว่า 2.173 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุ 35-59 ปี (p-value = 0.01) ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา และมีระดับการศึกษาชั้นมัธยมตอนต้นมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงกว่า 4.667 เท่า และ 3.590 เท่า ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป (p-value = 0.036  และ 0.034 ตามลำดับ) ผู้ที่มีเส้นรอบเอวไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงกว่า 1.602 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีเส้นรอบเอวผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (p-value = 0.046)  และการมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารในระดับมากลดความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็น 0.360 เท่า ของผู้ที่มีการมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารในระดับน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value = 0.021) ปัจจัยระหว่างบุคคล พบว่า การได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากลดความเสี่ยงกับการป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็น 0.571 เท่า ของกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value = 0.032) จะเห็นได้ว่าความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมทั้งการได้รับการสนับสนุนทางด้านอารมณ์จากครอบครัวและคนใกล้ชิดมีส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ Health Data Center (HDC) รายงานตามตัวชี้วัด NCD ClinicPlus ปี 2566. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2023

กลุ่มรายงานมาตรฐาน. (2566). พฤติกรรมสุขภาพ (3อ. 2ส.). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://ssjnonthaburi.moph.go.th/nont/index.php?m=m101&groupwork=&module=newpost1&c18cb6100c5490a5d2f58bbc9b7c97a8&fmod=planing&id=777

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 256-268. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/30627

กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2560 - 2564 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, COPD). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/dncd/

ธีรนันท์ วรรณศิริ. (2562). สัมพันธภาพในครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์, 23(2), 31-50. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/248650

นลัท พรชัยวรรณาชาติ. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์ สาขา 3 อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(3), 73-86. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/246141

นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสสุวรรณ์ (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะก่อนเบาหวานของประชากรวัยทำงานที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(3), 106-117. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/264680

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. (2566). ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย 2566. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์. สืบค้นจาก https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/bukhlakr-thangkar-phaethy/cpg/naewthang-wech-ptibati-sahrab-rokh-bea-hwan-2567

ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์, ลัดดา อัตโสภณ และ พิศาล ชุ่มชื่น. (2559). ประสิทธิผลของการใช้แรงสนับสนุนทางสังคมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 13(2), 36-46. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/200944

ภฤดา แสงสินศร. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 2(2), 43-54. สืบค้นจาก http://www.ppho.go.th/webppho/research/y2p2/b05.pdf

รณิดา เตชะสุวรรณา, สุทัศน์ โชตนะพันธ์, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, บัณฑิต ศรไพศาล และ ประวิช ตัญญสิทธิสุนทร. (2563). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่สองในคนไทย. วารสารควบคุมโรค, 46(3), 268-279. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/259201

โรงพยาบาลไชยปราการ. (2566). ระบบฐานข้อมูล HosXP. โปรแกรม HosXP โรงพยาบาลไชยปราการ.

วรรณภาภรณ์ จงกลาง และ นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสสุวรรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงาน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพจังหวัดนครราชสีมา, 14(3), 71-82. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/252729

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2565). รายงานสถิติการเกิดโรคเบาหวานประจำปี 2565. สืบค้นจาก https://smartncd.chiangmaihealth.go.th/web/index.php?r=report%2Fgreport&id=dm_incident&year=2024

Deesiang, W. (2006). Effects of self-management program on hemoglobin A1c and LDL-cholesterol level of type 2 diabetic patients. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). Retrieve from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/unc/article/view/162671

Feldman, A. L., Long, G. H., Johansson, I., Weinehall, L., Fhärm, E., Wennberg, P., & Rolandsson, O. (2017). Change in lifestyle behaviors and diabetes risk: Evidence from a population-based cohort study with 10-year follow-up. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 14(1), 1-10. Retrieve from https://doi.org/10.1186/s12966-017-0499-z DOI: https://doi.org/10.1186/s12966-017-0489-8

Huang, H., Zheng, X., Wen, X., Zhong, J., Zhou, Y., & Xu, L. (2023). Visceral fat correlates with insulin secretion and sensitivity independent of BMI and subcutaneous fat in Chinese with type 2 diabetes. Frontiers in Endocrinology (Lausanne), 14, 1144834. Retrieve from https://doi.org/10.3389/fendo.2023.1144834. PMID: 36909323; PMCID: PMC9999013 DOI: https://doi.org/10.3389/fendo.2023.1144834

Kirkman, M. S., Briscore, V. J., Clark, N., Florez, H., Haas, L. B., Halter, J. B., & Swift, C. S. (2012). Diabetes in older adults. Diabetes Care, 35(12), 2650-2664. Retrieve from https://doi.org/10.2337/dc12-1801 DOI: https://doi.org/10.2337/dc12-1801

Kowall, B., Rathmann, W., Stang, A., Bongaerts, B., Kuss, O., Herder, C., & Kowall, B. (2017). Perceived risk of diabetes seriously underestimates actual diabetes risk: The KORA FF4 study. PLoS One, 12(1), e0171152. Retrieve from https://doi.org/10.1371/journal.pone.0171152 DOI: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0171152

Sripaoraya, K., Siriwong, W., Pavittranon, S., & Chapman, R. S. (2017). Determinants of diabetes mellitus type 2 risk in Ron Phiboon Sub-District, Nakhon Si Thammarat Province, Thailand. Journal of Health Research, 31(3), 191-197. Retrieve from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhealthres/article/view/89048

Liu, Y., Cheng, J., Wan, L., & Chen, W. (2023). Associations between total and added sugar intake and diabetes among Chinese adults: The role of body mass index. Nutrients, 15(14), 3274. Retrieve from https://doi.org/10.3390/nu15143274. PMID: 37513695; PMCID: PMC10384374 DOI: https://doi.org/10.3390/nu15143274

Richards, S. E., Wijewera, C., & Wijewera, A. (2022). Lifestyle and socioeconomic determinants of diabetes: Evidence from country-level data. PLoS One, 17(7), e0270476. Retrieve from https://doi.org/10.1371/journal.pone.0270476 DOI: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0270476

Waltz, C. F., & Bausell, R. B. (1981). Nursing research: Design, statistics, and computer analysis (p. 362). F.A. Davis. Retrieve from https://books.google.co.th/books/about/Nursing_Research.html?id=cyJtAAAAMAAJ&redir_esc=y

Yan, Z., Cai, M., Han, X., Chen, Q., & Lu, H. (2023). The interaction between age and risk factors for diabetes and prediabetes: A community-based cross-sectional study. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity: Targets and Therapy, 16, 85-93. Retrieve from https://doi.org/10.2147/DMSO.S390857 DOI: https://doi.org/10.2147/DMSO.S390857

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13

How to Cite

เรือนมูล ส. ., & รัตนปัญญา ส. (2024). ปัจจัยกำหนดสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของประชาชนในอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 3(1), 59–76. https://doi.org/10.57260/stc.2025.954