การศึกษาเทคนิคการจัดกลุ่มโดย Machine Learning ในหุ้น SET100 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พัชร นพคุณมงคลชัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ปรารถนา มินเสน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ปิยะชาติ เวียงนาค คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.57260/stc.2025.1042

คำสำคัญ:

เปรียบเทียบการแบ่งกลุ่ม , K means , Hierarchical, DBSCAN, Fuzzy C-Means , ข้อมูล SET100

บทคัดย่อ

การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นหนึ่งในช่องทางในการลงทุน ที่นำมาซึ่งผลตอบแทนมหาศาลแต่ผลตอบแทนดังกล่าวก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นภารกิจหลักของนักลงทุนที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนโดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยง บทความนี้นำเสนอวิธีการจัดกลุ่ม            โดย Machine Learning ในหุ้น SET 100 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นเทคนิคแบบ Unsupervised Learning ประกอบด้วยเทคนิค K-means, Hierarchical, DBSCAN และ Fuzzy C-means โดยเทคนิคเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงคล้ายกันได้ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังหุ้น SET 100 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหุ้นสามัญ 100 บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงและการซื้อขายมีสภาพคล่องสูงอย่างสม่ำเสมอถือว่าเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีอัตราการเติบโตของบริษัทอย่างต่อเนื่อง เป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วไป ในการจัดกลุ่มได้นำเอา อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) และ ค่าความเสี่ยงของหุ้น (BETA) ระยะเวลา 3 ปี 274 ตัว ผลการจัดกลุ่มทั้ง 4 วิธี พบว่า K-means สามารถจัดออกมาได้ 3 กลุ่มได้แก่กลุ่มที่ หุ้นปลอดภัยแต่ให้ปันผลต่ำ 192 ตัว หุ้นปันผลสูง ความเสี่ยงต่ำ 4 ตัว และ หุ้นเติบโตและมีความเสี่ยงสูง 78 ตัวส่วนเทคนิค Hierarchical สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ หุ้นปลอดภัยแต่ให้ปันผลต่ำ 163 ตัว หุ้นปันผลสูง ความเสี่ยงต่ำ 4 ตัว และ หุ้นเติบโตและมีความเสี่ยงสูง 107 ตัวส่วนเทคนิค DBSCAN แบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มหลัก 266 ตัว นอกกลุ่ม 8 ตัวส่วนเทคนิค Fuzzy C-means แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่หุ้นปันผลสูงและความเสี่ยงต่ำ 89 ตัว หุ้นที่มีความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน 138 ตัว และหุ้นที่มีความผันผวนสูง 47 ตัว

References

จักรกฤษณ์ มะโหฬาร, สุมาลี นามโชติ และ นฤพล อ่อนวิมล. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดัชนีSET100. วารสารสุทธิปริทัศน์, 38(1), 83-99. สืบค้นจาก https://so05.tci- thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/article/view /269045/181752

ชลวิช สุธัญญารักษ์. (2560). ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ โดยใช้แบบจำลอง CAPM. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 13-23. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/108212

นภสินธุ์ สานติวัตร และ สรศาสตร์ สุขเจริญสิน. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจ่ายเงินปันผลและการเปลี่ยนแปลงของกำไรในอนาคต. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 43(169), 1-21. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/250228

สุภาภรณ์ ทิมสำราญ และ ถวิล นิลใบ. (2564). การพยากรณ์ประสิทธิภาพของหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 4(3), 75-87. สืบค้นจาก http://www.rujogs.ru.ac.th/Journals/ClickLink/149

Bezdek, J. C. (1981). Objective function clustering. IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine Intelligence, 3(3), 376–386. Retrieved from https://doi.org/10.1109/TPAMI.1981.4767076

SET. (2567). ข้อมูล SET100 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://shorturl .asia/4Shpr

SET investnow. (2568). อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล. สืบค้นจาก https://www.setinvestnow.com /th/glossary/dividend-yield

Sharpe, W. F. (1964). Capital asset prices: A theory of market equilibrium under conditions of risk. The Journal of Finance, 19(3), 425–442. Retrieved from https://doi.org/10.1111/j.1540-6261.1964.tb02865.x

Softnix. (2004). K-means. Retrieved from https://shorturl.asia/cdo3e

Weisstein, E. W. (2002). Euclidean distance. MathWorld – A Wolfram Web Resource. Retrieved from https://mathworld.wolfram.com/EuclideanDistance.html

Zarah, P. (2018). Ability of net income in predicting dividend yield operating cash flow as a moderating variable. Archives of Business Research, 6(1), 226-234. Retrieved from http://dx.doi.org/10.14738/abr.61.4128

Zarah, P. (2019). Empirical evidence of market reactions based on signaling theory in Indonesia stock exchange. Investment Management and Financial Innovations, 16(2), 66-77. http://dx.doi.org/10.21511/imfi.16(2).2019.0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

นพคุณมงคลชัย พ. ., มินเสน ป., & เวียงนาค ป. (2025). การศึกษาเทคนิคการจัดกลุ่มโดย Machine Learning ในหุ้น SET100 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 3(3), 44–57. https://doi.org/10.57260/stc.2025.1042