การพัฒนาระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2024.756คำสำคัญ:
คลังสินค้าออนไลน์, การพัฒนาระบบ, ฐานข้อมูลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ 2) ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ ยึดหลักการทำงานวงจรการพัฒนาระบบ SDLC กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนิ้ คือ ชาวบ้านหมู่บ้านกะเบอะดิน ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ ใช้รูปแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีโครงสร้างแบบ MVC ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL เขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP, HTML และจัดการทำเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Visual Studio Code 2) แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์ วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีผลวิจัยดังนี้ 1) ระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1.1) ผู้ดูแลระบบ สามารถจัดการข้อมูลพื้นฐาน ตรวจสอบการชำระเงิน ตรวจสอบใบเสนอสินค้า และตรวจสอบข้อมูลการจัดส่งสินค้าได้ 1.2) ลูกค้า สามารถสั่งซื้อสินค้า และสามารถชำระเงินได้ตามที่กำหนด 1.3) เกษตรกร สามารถเสนอสินค้าที่ต้องการขายให้ทางระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์เพื่อสร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ได้ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระบบมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.27
References
กิตติวรรธน์ กิตติวรรธนา. (2559). การพัฒนาระบบฐานขอมูลวิจัยโรงเรียนนายสิบทหารบก. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7, 30-31 มีนาคม 2558 (หน้า 1392-1397).นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
เจษฎาวุฒิ ทุ่งเมืองทอง. (2565). ระบบการขายรถมอเตอร์ไซค์มือสองร้านโก้มอเตอร์โฮม. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชวณัฏฐ์ ด่านวิริยะกุล. (2560). การนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในธุรกิจร้านขายยา กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม . วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุทธินันท์ บุญกาวิน, วัชรพล กันใจ และ ศิริกรณ์ กันขัติ์. (2566). การพัฒนาระบบบริหารจัดการรถเช่า. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(4), 19–30. https://doi.org/10.57260/stc.2023.598
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้อนต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. สำนักวิทยบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร และ กฤติยา เกิดผล. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 65-72. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/208158
พงศธร เอมะบุตร. (2562). การพัฒนาระบบคลังสินค้าออนไลน์ : กรณีศึกษา บริษัท วี ดี แคน จำกัด. สืบค้นจาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Phongsathorn.Ema.pdf
ภานุพงศ์ ดารากัย และ ศักดิ์ชาย รักการ. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าในธุรกิจเครื่องกำเนิดไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(1), 31-46. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/stouscitech/article/view/247020
ภูรินทร์ ปวงละคร. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารสินค้าคงคลัง ห้างหุ้นส่วนจำกัดแม่สอดชานทร์. สืบค้นจาก https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2562/mba10962phurin_full.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต . (2563). วิเคราะห์และออกแบบระบบ. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/378954.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2566). ระบบจัดการฐานข้อมูล. สืบค้นจาก https://dspace.bru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/
วิชา พละหงษ์ และ พิมพ์ชนก สุวรรณศรี. (2567). การพัฒนาระบบบริหารจัดการสำนักงาน ตัวแทนประกันภัย หางดง-สะเมิง (สี่แยกสะเมิง). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(1), 60–75. https://doi.org/10.57260/stc.2024.732
อัญชัญ อันชัยศรี. (2565). กะเบอะดิน : ป่าต้นน้ำ นาขั้นบันได และเหมืองแร่ถ่านหิน. สืบค้นจาก https://theactive.net/view/kabeudin-and-omkoi-coal-mine-project/
อภิศักดิ์ วงศ์สนิท.(2563). การจัดการคลังสินค้าเพิ่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเก็บสินค้า. สืบค้นจาก https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Apisak.Won.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ