อัตราปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการผลิตเสาวรสในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • พิกุลทอง สุอนงค์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ กรมวิชาการเกษตร จ.บุรีรัมย์ 31000
  • รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา กรมวิชาการเกษตร จ.นครราชสีมา 30340
  • สุรกิตติ ศรีกุล สำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ 10900

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v1i2.153

คำสำคัญ:

เสาวรส, การจัดการปุ๋ย, ผลผลิต, คุณภาพผลผลิต

บทคัดย่อ

การศึกษาอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเสาวรสในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรบุรีรัมย์ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – พฤศจิกายน 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเสาวรส วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 3 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) ใส่ปุ๋ยตามการปฏิบัติของเกษตรกร (7-7-9 กก.N-P2O5-K2O/ไร่) 2) ใส่ปุ๋ยหมัก 200 กก.แห้ง/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-15-35 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ 3) ใส่ปุ๋ยหมัก 200 กก.แห้ง/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 23-15-35 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ 4) ใส่ปุ๋ยหมัก 200 กก.แห้ง/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 38-15-35 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ 5) ใส่ปุ๋ยหมัก 200 กก.แห้ง/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-11-35 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ 6) ใส่ปุ๋ยหมัก 200 กก.แห้ง/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-19-35 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ 7) ใส่ปุ๋ยหมัก 200 กก.แห้ง/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-15-26 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ และ 8) ใส่ปุ๋ยหมัก 200 กก.แห้ง/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-15-44 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ผลการศึกษาพบว่าการใส่ปุ๋ยอัตราแตกต่างกันตามกรรมวิธีที่ 2–8 ไม่ทำให้น้ำหนักผล น้ำหนักเนื้อน้ำ น้ำหนักเปลือก เส้นผ่านศูนย์กลางผล ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และปริมาณกรดแอสคอร์บิกของเสาวรสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ส่งผลให้ความหนาเปลือก จำนวนผลต่อต้น และผลผลิตของเสาวรสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการใส่ปุ๋ยหมัก 200 กก.แห้ง/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 30-15-44 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตของเสาวรสมีค่ามากที่สุด (9.83 กก./ต้น หรือ 1,739 กก./ไร่)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563, มีนาคม). ข้อมูลภาวะการผลิตพืชระดับตำบลปีเพาะปลูก 2562/63. http://www.agriinfo.doae.go.th/year63/plant/rortor/fruit/passion.pdf.

ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. (2550). การผลิตไม้ผลเมืองหนาวขนาดเล็กในเขตร้อน. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐชนน สันธทรัพย์ ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ พิมพ์ใจ สีหะนาม และชูชาติ สันธทรัพย์. (2563). อัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเคพกูสเบอร์รีบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 38(1), 28-39.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. (2555). การปลูกเสาวรสหวาน. เอกสารวิชาการโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวง และพัฒนาศักยภาพชุมชนบนพื้นที่สูง

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), เชียงใหม่.

สรัสวดี เผือกสกนธ์. (2531). แพสชั่นฟรุ๊ต. นนทบุรี. กลุ่มรักเกษตร.

Agri farming. (2022, April). Top 15 steps to boost Passion fruit yield: How to increase Passion fruit production, quality and size. https://www.agrifarming.in/top-15-steps-to-boost-passion-fruit-yield-how-to-increase-passion-fruit-production-quality-and-size.

Alva, A.K., & Tucker, D.P.H. (1999). Soils and citrus nutrition. In L.W. Timmer & L.W. Duncan (Eds.), Citrus health management. The American Phytopathological Society. 59–71.

Deepti, S., & Singh, A.K., & Singh, K.A.P. (2018). Effects of varying doses nitrogen and phosphorus on vegetative growth, flowering and fruit quality of cape-gooseberry (Physalis peruviana L.). International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 7(2), 126-135.

Dirou, J., & Huett, D. (2018, April). Passion fruit nutrient replacement. https://www.dpi.nsw.gov.au/agriculture/horticulture/tropical/fertilising/replacement.

Feigin, A., & Zwibel, M., & Rylski, I., & Zamir, N. & Levav, N. (1980). The effect of ammonium/nitrate ratio in the nutrient solution on tomato yield and quality. Acta Hort. 98, 149-160.

Gisele, A.P.D., & Carvalho, A.J.C., & Freitas, M.S.M., & Santos, P.C., & Freitas, J.A.A. & Marinho, C.S. (2016). Sweet passion fruit yield and fruit quality related to fertilization with urea and cattle manure. Journal of plant nutrition. 39(6), 828-834.

Horneck, D.A., & Sullivan, D.M., & Owen, J.S. & Hart, J.M. (2011, July). Soil test interpretation guide. https://www.extension.oregonstate.edulcatalog/.

International Fertilizer Association. (2016, November). Nutrient Management Handbook. https://www.fertilizer.org/Nutrient_ManagementHandbook.pdf.

Kondo, T., & Koga, K., & Sato, D. (2020). Effects of nitrogen concentration in fertilizer solution on vegetative growth, flowering, and fruit quality in Passion fruit. Trop. Agr. Develop. 64(4), 161-164.

Li, H., & Huang, G., & Meng, Q., & Ma, L., & Yuan, L., & Wang, F., & Zhang, W., & Cui, Z., & Shen, J., & Chen, X., & Jiang, R., & Zhang, F. (2011). Integrated soil and plant phosphorus management for crop and environment in china. Plant Soil. 349, 157-167.

Lorensini, F., & Ceretta, C.A., & Lourenzi, C.R., & Conti, L.D., & Tiecher, T.L., & Trentin, G.T., & Brunetto, G. (2015). Nitrogen fertilizer of cabernet sauvignon grapevines: yield, total nitrogen content in the leaves and must composition. Acta Scientiarum Agronomy. 37(3), 321-329.

Menzel, C.M., & Haydong, F., & Simpson, D.R. (1991).Effect of nitrogen on growth and flowering of passion fruit (Passiflora edulis f. edulis X P. edulis f. flavicarpa) in sand culture. Journal of Horticultural Science. 66(6), 689-702.

Miyake, R.T.M., & Takata, W. H. S., & Narita, N., & Creste, J. E. (2019). Fertilization with nitrogen, phosphorus and potassium on soil fertility and nutritional status of yellow Passion fruit plants. Journal of Agricultural Science. 11(5), 142-151.

Mozafar A. (2008). Nitrogen fertilizers and the amount of vitamins in plants. Plant Nutrition. 16(2), 2479-2506.

Prakash, O., & Kumar, A., & Singh, Y. (2017). Effect of nitrogen, zinc sulfate and boron on growth and yield of Cape gooseberry (Physalis peruviana L.). International of Pure & Applied Bioscience. 5(3), 74-84.

Rodrigo, T.M.M., & William, H.S.T., & Wellington, E. (2016). Effects of potassium fertilization and commercial substrates on development of passion fruit seedlings under greenhouse condition. African Journal of Agricultural Research. 11(39), 3720-3727.

Quaggio, J.A., & Mattos, J.R., Cantarella, H., & Almeida, E.L.E. & Cardoso, S.A.B. (2002). Lemon yield and fruit quality affected by NPK fertilizer. Scientia Horticulturae. 96, 151-162.

USDA Food Composition Databases. (2016, February). Passion-fruit juice, yellow, raw. https://ndb.nal.usda.gov/ndb/nutrients/report?nutrient1.

Woldemariam, S.H., & Zeru, D. & Solomon, M.T. (2018). Effects of potassium levels on productivity and fruit quality of tomato (Lycopersicon esculentum L.). Journal of Agricultural Studies. 6(1), 104-117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

สุอนงค์ พ. ., ปรัชเจริญวนิชย์ ร. ., & ศรีกุล ส. . (2023). อัตราปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการผลิตเสาวรสในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ . วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 1(2), 1–9. https://doi.org/10.55164/jtai.v1i2.153