ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญและพัฒนาเนื้อเยื่อมันเทศพันธุ์เหลืองสายน้ำผึ้งอินโดในสภาพปลอดเชื้อ

ผู้แต่ง

  • Parichat Gleepnet -
  • เพียงพิมพ์ ชิดบุรี สาขาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง จังหวัดลำปาง 52000
  • ศิริพรรณ สารินทร์ ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • พิทักษ์ พุทธวรชัย สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง 52000
  • อภิชาติ ชิดบุรี สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง 52000

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.159

คำสำคัญ:

มันเทศ ลูกบอลปักชำ ในสภาพปลอดเชื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเข้มข้น BA (6-benzyladenine) และ NAA (1-Naphthalene acetic acid)  ต่อการเจริญและพัฒนา การชักนำให้เกิดรากของชิ้นส่วนเนื้อเยื่อมันเทศพันธุ์เหลืองสายน้ำผึ้งอินโดในสภาพปลอดเชื้อ มี 2 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาระดับความเข้มข้นของ BA (0.5, 1 และ 2 มก./ล.) ร่วมกับ NAA (0.1, 0.3 และ 0.5 มก./ล) วางแผนการทดลองแบบปัจจัยร่วมในสุ่มสมบูรณ์ (Factorial in Completely Randomize Design; CRD)   สำหรับการทดลองที่ 2 ศึกษาความเข้มข้นของ NAA (0.1, 0.3 และ 0.5 มก./ล.) ที่เติมในลูกบอลปักชำ (cutting-ball) เปรียบเทียบกับไม่เติมสารในลูกบอลปักชำ และเพาะเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ หลังจากทำการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ การทดลองที่ 1 พบว่า เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในทุกกรรมวิธีที่ไม่มีความแตกต่างกัน (ร้อยละ 10)  ส่วนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น  0.50  และ 1.00 มก./ล. ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0.10 มก./ล. มีผลต่อการเจริญและพัฒนาเป็นก้อนแคลลัสได้ดี (น้ำหนักสดและแห้งของแคลลัส) แต่ที่เลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่ไม่เติม BA และ NAA (ชุดควบคุม) มีความสูงของยอดและความยาวรากที่มากที่สุด (1.49±0.21 และ 7.47±1.75 ซม. ตามลำดับ) ชิ้นส่วนปลายยอดสามารถชักนำให้เกิดรากได้ในลูกบอลปักชำที่ไม่เติม และที่เติม NAA ไม่มีความแตกต่างกับที่เลี้ยงในสภาพบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ยกเว้นความยาวราก (ซม.) มากที่สุดเมื่อชิ้นส่วนปลายยอดเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS คือ 8.47±1.46 ซม.

 

References

กรมศุลกากร. 2559. สถิติการนำเข้าส่งออก. แหล่งที่มา http://internet1.customs.go.th/ext/Statistic/StatisticIndex2550.jsp, (4 ตุลาคม 2565).

จิรพันธ์ ศรีทองกุล, 2552. เมล็ดเทียม, Technology-Bio. 36(207) 56-60

ณิชารีย์ เผ่าพงศ์วนา และ อภิชาติ ชิดบุรี. (2561). ผลของระยะเวลาและอุณหภูมิการเก็บรักษาลูกบอลปักชำต่อการ เจริญของชิ้นส่วนปลายยอดกุหลาบหนูที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว.

ธราธร ทีรฆฐิติ, อรนุช ลีลาพร, ยินดี ชาญวิวัฒนา, และลิขิต มณีสินธุ์. (2559). คู่มือส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพืช “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ดอกไม้ประดับ”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

พัชาราวดี วัฒนวิกย์กิจ วราพร วีระพลากร พนิดา วงษ์แหวน และยุพา มงคลสุข. 2544. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันเทศ. P 383-390. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้ง 39 วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2544 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

อภิชาติ ชิดบุรี, พิทักษ์ พุทวรชัย และ ศิริพรรณ สุรินทร์ (2559) ผลของความเข้มข้นของ IAA ในน้ำหมักจากแบคทีเรียต่อการเจริญและพัฒนาของการเพาะเลี้ยงแคลลัสเชียงดา, วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ ปีที่3 ฉบับพิเศษ (3), 21-25.

Abubakar, A.S.,S.U. Yahaya, A.S. Shaibu, H. Ibrahim, A.K. Ibrahim, Z.M. Lawan and A.M. Isa. 2018. In virto propagation of sweet potato (Ipomoea batatas (L.) Lam.) cultivars. Agric. Sci. Digest., 38(1): 17-21.

Dolinski, R. and A. Olek. 2013. Micropropagation of sweet potato (Ipomoea batatas (L.) Lam.) from node explants. Acta, Sci. Pol., Hortorum Cultus. 12(4): 117-127.

Huang, N. 1997. Growth medium and environmental studies of sweet potato meristem culture. Thesis, Massey University, New Zealand. 75 pp.

Ogero, K.O., N.M. Gitonga, M. Mwangi, O. Omborf and M. ngugi. 2011. A low-cost medium for sweet potato micropropagation. African Crop Science Conference Proceeding, Vol. 10. 57-63.

Skoog, F. and C. O. Miller. 1957. Chemical regul ator of growth and organ formation in plant tissue culture in vitro. Sym. Soc. Exp. Biol. Med. 11 : 118-131.

Vettorazzi, R.G., V.S. Carvalho, C.P. Sudre and R. Rodrigues. 2017. Developing an in vitro optimized protocol to sweet potato landraces conservation. Acta Scientiarum Agronomy. 39(3): 359-367.

Wetter, L.R. and F. Constabel. 1982. Plant Tissue Culture Methods. National research Council of Canada. Canada. 145 p.

เผยแพร่แล้ว

2023-04-03

How to Cite

Gleepnet, P., ชิดบุรี เ. ., สารินทร์ ศ., พุทธวรชัย พ., & ชิดบุรี อ. . (2023). ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญและพัฒนาเนื้อเยื่อมันเทศพันธุ์เหลืองสายน้ำผึ้งอินโดในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 1(1), 17–25. https://doi.org/10.55164/jtai.v1i1.159