ความถี่ในการให้ปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวที่ได้จากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
คำสำคัญ:
การขยายพันธ์ุพืช, ธาตุอาหาร, การออกดอก, การเจริญเติบโตบทคัดย่อ
กระเจียวเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย การขยายพันธุ์จากต้นอ่อนจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเกษตรกร ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความถี่ในการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นกระเจียวที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยคัดเลือกต้นกระเจียวจำนวน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Banrai Red และ CMU Sweet Rosy จากห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปลูกลงในกระถางพลาสติกดำขนาด 6 นิ้ว วัสดุปลูกที่ใช้มีส่วนผสมของ ทราย : ขุยมะพร้าว : แกลบดิบ : ถ่านแกลบ อัตราส่วน 1: 1: 1 : 0.5 ปลูกเลี้ยงในโรงเรือนพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ ให้พืชได้รับปุ๋ยเกล็ดสูตรเสมอ 21-21-21 อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยให้พืชได้รับสารละลายปุ๋ย 100 มิลลิลิตรต่อกระถาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 กรรมวิธี ๆละ 10 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ไม่ให้ปุ๋ย ( กรรมวิธีควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 ให้ปุ๋ย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และกรรมวิธีที่ 3 ให้ปุ๋ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า การได้รับปุ๋ยสัปดาห์ละ 1 หรือ 2 ครั้ง ส่งผลให้กระเจียวทั้ง 2 สายพันธุ์ มีความสูงต้น เฉลี่ย 35.8 เซนติเมตร ในกระเจียว Banrai Red และ 32.2 เซนติเมตร ในกระเจียว CMU Sweet Rosy และจำนวนใบเฉลี่ย 6 ใบ ในกระเจียว Banrai Red และ 5.8 ใบในกระเจียว CMU Sweet Rosy ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีที่ไม่ได้รับปุ๋ย การให้ปุ๋ยสัปดาห์ละครั้งส่งผลให้กระเจียว Banrai Red มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกมากกว่ากรรมวิธีอื่น ส่วนการได้รับปุ๋ยสัปดาห์ละ 2 ครั้งส่งให้กระเจียว CMU Sweet Rosy มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกมากที่สุด เฉลี่ย 67 %
References
นันทภพ จันต๊ะคาด. (2562). ผลของความถี่ในการให้ปุ๋ย ต่อการเจริญเติบโตของต้นกระเจียวที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทลัยเชียงใหม่.
พิทยา สรวมศิริ. 2554. ธาตุอาหารในการผลิตพืชสวน. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 314 น.
ศุภสุตา การูจี สุริวัฒน์ ช่วยบำรุง ศุภธิดา อับดุลลากาซิม และ สิรินาฏ น้อยพิทักษ์. (2561). ผลของความถี่ในการใส่ปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต คุณภาพช่อดอก และปริมาณไนโตรเจนสะสมในกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ โซเนีย ‘เอียสกุล’. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49, 257-261.
สมชาย สุคนธสิงห์ โอฬาร พิทักษ์ ภาวนา อัศวะประภา ทวิพงษ์ สุวรรณโน เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ และอภิชาติ สุวรรณ. (2541). การปลูกประทุมมาและกระเจียว. เอกสารคำแนะนำ กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ.
สุรวิช วรรณไกรโรจน์. (2537). ปทุมมาและกระเจียว. ไม้ตัดดอกเขตร้อน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร.
สุภาพร สัมโย และอำนวย อรรถลังรอง. (2563). สถานการณ์การผลิตปทุมมา (มิถุนายน 2563). สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.
โสระยา ร่วมรังษี ชัยอาทิตย์ อิ่นคำ และพิมพ์ใจ สีหะนาม. (2560). โครงการปรับปรุงคุณภาพการผลิตปทุมมาและกระเจียวเพื่อการค้า. รายงานฉบับสมบูรณ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.