การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii (Ehrenberg) Ascheron
DOI:
https://doi.org/10.55164/jtai.v2i1.183คำสำคัญ:
หญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii), การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, การฟอกฆ่าเชื้อ, สารควบคุม การเจริญเติบโตบทคัดย่อ
การศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหญ้าชะเงาเต่า Thalassia hemprichii (Ehrenberg) Ascherson ศึกษา การฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนเนื้อเยื่อของหญ้าทะเลที่เหมาะสม จากการศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ ในสูตร ที่ 1-4 เป็นการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ ที่ระดับความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 5,10,15 และ 20 นาที และสูตรที่ 5-7 เป็นการฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารละลายไฮเตอร์ ครั้งที่ 1 ที่ระดับความเข้มข้น 8, 10 และ12 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 10 นาที และครั้งที่ 2 ที่ระดับความเข้มข้น 4, 5 และ 6 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 15 นาที พบว่าการฟอกฆ่าเชื้อ วิธีที่เหมาะสมที่สุดคือวิธีที่ 3 คือการฟอกฆ่าเชื้อด้วยไฮเตอร์ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 15 นาที มีการรอดชีวิตชิ้นส่วนของใบ 26.67 เปอร์เซ็นต์ (8.00±0.41) ชิ้นส่วนโคนใบ 23.33 เปอร์เซ็นต์ (7.00±0.44) และชิ้นส่วนลำต้นใต้ดิน 21.10 เปอร์เซ็นต์ (6.33±0.50) พบว่าการฟอกฆ่าเชื้อด้วยไฮเตอร์ ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 15 นาที เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือมีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ต่ำที่สุด และจากการศึกษาสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มี ความเหมาะสมต่อการพัฒนาเนื้อเยื่อหญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii) (Ehrenberg) Ascherson ที่ระดับ ความเข้มข้นต่างๆของ BA (6-Benzyl aminopurine) ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 2.0 และ 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA (Naphthalene acetic acid) ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0, 2.0 และ 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ภายในระยะเวลา 2 เดือน พบว่าเปอร์เซ็นต์ การรอดชีวิตชิ้นส่วนของใบ ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆของ BA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละ 0.77 (0.23±0.40) เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตชิ้นส่วนของโคนใบ ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆของ BA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละ 0.80 (0.24±0.31) และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตชิ้นส่วนของลำต้นใต้ดิน ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆของ BA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA ระดับความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร้อยละ 0.87 (0.26±0.33) และมีการเจริญเป็นต้นใหม่จำนวน 1 ต้น
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งหญ้าทะเล.http://www.mkh.in.th.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2565). คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii). https://km.dmcr.go.th.
กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์, สุจินต์ ดีแท้ และวิทยา ศรีมโนภาษ. (2534). อนุกรมวิธานและนิเวศวิทยาของหญ้าทะเลในประเทศไทย. เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
กฤติยา ธุระนนท์, จันทนา ไพรบูรณ์, ศุภพร เปรมปรีดิ์ และชัชรี แก้วสุรลิขิต. (2557). การฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวของหญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii). กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาชีววิทยาประมง คณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัชรี แก้วสุรลิขิต และจันทนา ไพรบูรณ์ . (2555). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหญ้าชะเงาเต่า เพื่อการอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเล.กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน. (2562). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล. https://km.dmcr.go.th/th/c_4/d_770.
Murashige, T., & Skoog, F. (1962). A revised medium for rapid growth and bioassays with tabacco tissue culture. Plant Physiology 15: 437-497. Orpurt, P.A. and L.L. Boral. 1964. The flowers, fruits and seeds of Thalassia testudinum Konig. Bulletin Marine Science Gulf Caribbean 14: 296-302.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.