ประสิทธิภาพของดินปลูกจากวัสดุอินทรีย์แต่ละชนิดต่อสมบัติทางเคมีของดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดเรดปัตเตเวีย

ผู้แต่ง

  • เกศศิรินทร์ แสงมณี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
  • วโรดม คงพาละ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220

คำสำคัญ:

ดินปลูก, ถ่านชีวภาพจากแกลบ, วัสดุอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของดินปลูกจากวัสดุอินทรีย์แต่ละชนิดต่อคุณสมบัติทางเคมีของดินต่อการเจริญและผลผลิตของผักสลัดเรดปัตเตเวีย โดยมีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) โดยมีสิ่งทดลองดังนี้ ดินปลูกทั้งหมด 7 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 (ดิน : กาบมะพร้าวสับ : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : มูลแพะ อัตราส่วน 2 : 1 : ½ : 1) สูตรที่ 2 (ดิน : กาบมะพร้าวสับ : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : มูลวัว อัตรา 2 : 1 : ½ : 1) สูตรที่ 3 (ดิน : กาบมะพร้าวสับ : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : มูลไก่แกลบ อัตรา 2 : 1 : ½ : 1) สูตรที่ 4 (ดิน : กาบมะพร้าวสับ : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : มูลหนอนไหม อัตรา 2 : 1 : ½ : ½) สูตรที่ 5 (ดิน : กาบมะพร้าวสับ : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : มูลไส้เดือน อัตรา 2 : 1 : ½ : ½ ) สูตรที่ 6 (ดิน : กาบมะพร้าวสับ : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : ใบไผ่ อัตรา 2 : 1 : ½ : 1) และสูตรที่ 7 ดินปลูกสูตรการค้า จากการทดลองพบว่า การหมักดิน 2 เดือน โดยใช้สูตรดินที่ 1 (ดิน : กาบมะพร้าวสับ : ถ่านชีวภาพจากแกลบ : มูลแพะ อัตรา 2 : 1 : ½ : 1) มีสมบัติทางเคมี ได้แก่ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม มากกว่าสูตรดินอื่น 2 เท่า และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดเรดปัตเตเวียดีที่สุด มีความกว้างทรงพุ่ม (18.88 เซนติเมตร) จำนวนใบ (14.50 ใบ) น้ำหนักสดต้น (56.85 กรัม) และน้ำหนักสดรากมากที่สุด (2.80 กรัม)

References

เกศศิรินทร์ แสงมณี, จิตรยา จารุจิตร์ และพิชย์ชัย ทองนวรัตน์. (2560). การศึกษาชนิดและอัตราส่วนของถ่าน

ชีวภาพต่อสมบัติของดิน การเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของกระเจี๊ยบเขียวที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ปริยานุช จุลกะ, เบญญา มะโนชัย, พิจิตรา แก้วสอน, เกศศิรินทร์ แสงมณี และเบ็ญจมาศ แก้วรัตน์. (2563). การพัฒนา

ผลิตภัณฑ์จากมูลหนอนไหมมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เพื่อความยั่งยืนของชุมชนที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประภาศรี จงประดิษฐ์นันท์, ประพิศ แสงทอง และจิรพงษ์ ประสิทธิเขตร. (2548). วัสดุอินทรีย์และปุ๋ยคอกในพื้นที่

ทำการเกษตร. สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. กรมวิชาการเกษตร.

ทองอยู่ ปิ่นทอง. (2554, มกราคม). ใช้มูลแพะใส่ในนาลดต้นทุนข้าวได้ครึ่ง. ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บ

เกี่ยว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://www.phtnet.org/news54/view-news.asp?nID=8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28