การจัดการผลิตพืชเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และความมั่นคง ด้านอาหารของชุมชนนวัตกรรมวิชาการเกษตร ชุมชนตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
DOI:
https://doi.org/10.55164/jtai.v3i1.988คำสำคัญ:
การจัดการผลิตพืช, การผลิตพืชอินทรีย์, ความมั่นคงทางอาหาร, การพัฒนาเกษตรกร, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบทคัดย่อ
โครงการการจัดการผลิตพืชเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนนวัตกรรมวิชาการเกษตรดำเนินการในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรในการพัฒนารูปแบบการผลิตพืชที่เหมาะสม ส่งเสริมรายได้ในอาชีพการเกษตรและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชน การศึกษาดำเนินระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 ผลการศึกษาพบว่า การใช้เทคนิคการใส่ปุ๋ยตามแนวทางของกรมวิชาการเกษตรส่งผลให้ผลผลิตทุเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 789 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกรที่ให้ผลผลิต 353.5 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ การปลูกพืชแบบผสมผสานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงใน 9 กลุ่มพืช ช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายของครัวเรือน การพัฒนาต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์ ช่วยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่ปลอดภัย ในขณะที่การพัฒนาเทคนิคการเพาะปลูก ที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเอื้อให้เกิดการผลิตพืชอย่างต่อเนื่อง ทั้งในฤดูกาลปกติและฤดูฝน นอกจากนี้ การพัฒนาแพลตฟอร์ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกร นักวิจัย และผู้เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการผลิตพืชในชุมชน เกิดการพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายผลสู่พื้นที่อื่นต่อไป
References
ธัชธาวินทร์ สะรุโณ. (2558). ความรู้เบื้องต้นในการวิจัย พัฒนา และทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชแบบมีส่วนร่วมกับเกษตรกร. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร.
ธัชธาวินทร์ สะรุโณ. (2558). การผลิตพืชตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร.
สมยศ ทุ่งหว้า.(2557). การวิเคราะห์สังคมเกษตร. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8. (2562). การผลิตทุเรียนภาคใต้ตอนล่าง. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยทักษิณ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.