วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักเศรษฐกิจ ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านคลองไม้แดง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • นิภาภรณ์ ชูสีนวน ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชสุราษฎร์ธานี กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84170

DOI:

https://doi.org/10.55164/jtai.v3i1.991

คำสำคัญ:

พืชผัก, อาหารปลอดภัย, สารชีวภัณฑ์, ปุ๋ยชีวภาพ, ภาคใต้ตอนบน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย (organic THAILAND) ของเกษตรกรบ้านคลองไม้แดง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 2 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. 2565-2566) โดยการจัดการดินและธาตุอาหารพืชและ การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ ประกอบด้วย 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 การวิจัยกะหล่ำในระบบอินทรีย์พบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต แหนแดง และปุ๋ยหมักเติมอากาศ ในปี พ.ศ. 2565 (ปีที่ 1) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4,861 กิโลกรัม/ไร่/ปี ในขณะที่กรรมวิธีเกษตรกร (FARMER) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,541 กิโลกรัม/ไร่/ปี ต้นทุนการผลิตของวิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตร (DOA) เฉลี่ย 109,729 บาท/ไร่/ปี ซึ่งต่ำกว่าวิธีเกษตรกร (FARMER) ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ย 140,659 บาท/ไร่/ปี วิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตรมีรายได้มากกว่าวิธีเฉลี่ยเท่ากับ 320,839 บาท/ไร่/ปี ส่วนวิธีเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 233,713 บาท/ไร่/ปี วิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตรมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 211,110 บาท/ไร่/ปีในขณะที่กรรมวิธีของเกษตรกรมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 93,054บาท/ไร่/ปี และวิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตรมีค่า BCR เฉลี่ยเท่ากับ 2.92 ในขณะที่วิธีเกษตรกรมีค่า BCR เฉลี่ย 1.66 และในปี พ.ศ. 2566 (ปีที่ 2) วิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตรให้ผลผลิตมากกว่าวิธีเกษตรกร โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 4,858 กิโลกรัม/ไร่/ปี ในขณะที่กรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,419 กิโลกรัม/ไร่/ปี ต้นทุนการผลิตผักอินทรีย์ของวิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตรเฉลี่ย 109,181 บาท/ไร่/ปี ซึ่งต่ำกว่าวิธีเกษตรกรซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ย 121,255 บาท/ไร่/ปี รายได้จากการผลิตผักอินทรีย์ พบว่า วิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตรมีรายได้มากกว่าวิธีเกษตรกร เฉลี่ยเท่ากับ 320,621 บาท/ไร่/ปี ส่วนวิธีเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 209,149 บาท/ไร่/ปี และมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 211,441 บาท/ไร่/ปี ในขณะที่กรรมวิธีของเกษตรกรมีรายได้สุทธิเฉลี่ย 84,264 บาท/ไร่/ปี และวิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตรมีค่า BCR เฉลี่ยเท่ากับ 2.94 ในขณะที่วิธีเกษตรกรมีค่า BCR เฉลี่ย เท่ากับ 1.70 การทดลองที่ 2 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ชีวภัณฑ์เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญในการผลิตผักอินทรีย์ พบว่ากรรมวิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตร (DOA) มีดัชนีการเกิดโรคเหี่ยว โรคใบจุด และโรครากเน่าโคนเน่าในคะน้า กวางตุ้ง และผักกาดขาว เฉลี่ย 4.33%, 3.66% และ 8% ตามลำดับ ในขณะที่วิธีเกษตรกร (Farmer) มีดัชนีการเกิดโรคเหี่ยว โรคใบจุด และโรครากเน่าโคนเน่าในคะน้า กวางตุ้ง และผักกาดขาวเฉลี่ย 14%,14.33% และ 18.33% ตามลำดับ ส่วนการกำจัดแมลงศัตรูที่สำคัญในผักตระกูลกะหล่ำ พบว่า กรรมวิธีแนะนำกรมวิชาการเกษตร (DOA) พบดัชนีการทำลายของแมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก และด้วงหมัดผักในคะน้า กวางตุ้ง และผักกาดขาว เฉลี่ย 10%, 14.25% และ 14.75% ตามลำดับ ในขณะที่วิธีเกษตรกร (Farmer) พบดัชนีการเกิดโรคเหี่ยว โรคใบจุด และโรครากเน่าโคนเน่าในคะน้า กวางตุ้ง และผักกาดขาวเฉลี่ย 34.75% , 38.75% และ 35.50% ตามลำดับ

References

กลุ่มวิจัยจุลินทรีย์ดิน. (2564). ปุ๋ยชีวภาพ. กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา. กรุงเทพมหานคร. กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

พัชราพร หนูวิสัย วิไลวรรณ พรหมคำ และวันชัย ถนอมทรัพย์. (2553). การประเมินการทำลายของแมลงในข้าวฟ่างหวานพันธุ์ต่างๆ. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาพืช (น. 24-30). ระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553 ณ กรุงเทพมหานคร

พงษ์ศักดิ์ ฤทธิอา และสาวิตรี ฤทธิคง. 2562. การเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต และอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในระบบการผลิตพืชอินทรีย์. รายงานสหกิจศึกษา ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. (2563). เอกสารวิชาการ ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช. กรุงเทพมหานคร.กรมวิชาการเกษตร.

Baum, C., El-Tohamy, W., and Gruda, N. (2015). Increasing the productivity and product quality of vegetable crops using arbuscularmycorrhizal fungi: a review. Sci. Hortic. (Amsterdam). 187, 131–141.

Gerretsen, F.C. (1984). The influence of microorganisms on the phosphate uptake by plant. Plant and Soil,Netherland. Institute for Soil Fertility Research.

Stern, V. M. (1973). Economic threshold. Annu. Rev. Entomol. 18, 259-280.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-07-15

How to Cite

ชูสีนวน น. (2025). วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักเศรษฐกิจ ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกผักบ้านคลองไม้แดง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร, 3(1), 38–51. https://doi.org/10.55164/jtai.v3i1.991