การพัฒนาทักษะการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยแบบฝึกทักษะ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปี 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยแบบฝึกทักษะสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปี 4 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปี 4 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัมมนาปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยในอนาคต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้หมู่เรียนเป็นหน่วยสุ่ม ด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า 2) แบบฝึกทักษะการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า 3) แบบประเมินทักษะการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัยพบว่า
1) ความสามารถด้านการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยแบบฝึกทักษะสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีความสามารถในการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า ด้านการเรียบเรียงรายงาน สูงสุด รองลงมาคือ การเขียนบรรณานุกรม และการเขียนรายการอ้างอิง โดยรวมความสามารถทุกด้านอยู่ในระดับ มากที่สุด
2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า คือ ด้านแบบฝึก สูงสุด รองลงมาคือ บรรยากาศในการเรียน และ เนื้อหาและการใช้ภาษา โดยรวมความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับ มากที่สุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
______. (2556). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสาราญ. (2550). ภาษากับการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
นิลินมาศ บัวศรี. (2554). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องการสืบค้นสารสนเทศและการเขียนรายงานโดยใช้ทฤษฎี การสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาะดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคแพร่. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เติบโตเต็มศักยภาพสู่ศตวรรษที่ 21 ของการศึกษาไทย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริญญา เงินพลอย. (2558). การพัฒนาทักษะการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว่าด้วยแบบฝึกทักษะสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/8490
สายฝน บูชา. (2550). รายงานทางวิชาการ. ในห้องสมุดและสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า .สำนักพิมพ์ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
______. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องความคิดเห็นและปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุภิตร อนุศาสน, ทัศนีย กระต่ายอินทร, และมานิตา ศรีสาคร. (2552). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
วรวรรธน์ ศรียาภัย. (2555). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Barnett, T. A. (1969). Teaching handbook 2. Midseason: Penguin Book.
Lo, H.-C. (2013). Design of Online Report Writing Based on Constructive and Cooperative Learning for a Course on Traditional General Physics Experiments. Educational Technology & Society, 16 (1), 380–391.
Walker, M., and Williams, J. (2014). Critical Evaluation as an Aid to Improved Report Writing: A Case Study. European. Journal of Engineering Education, 39(3), 272-281.