ความสัมพันธ์ของลักษณะคุณภาพในผลมะม่วง เพื่อการประยุกต์ใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์
คำสำคัญ:
มะม่วงสำหรับผู้บริโภคสุก, มะม่วงสำหรับบริโภคดิบบทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ของลักษณะคุณภาพในผลมะม่วงเพื่อการประยุกต์ใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์ ดำเนินการในปี พ.ศ. 2564 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ บันทึกลักษณะมะม่วงดิบและสุก 17 ลักษณะ จำนวน 63 พันธุ์ จากการศึกษาพบจำนวน 17 พันธุ์มีศักยภาพในการเป็นพ่อแม่พันธุ์สำหรับพัฒนาเป็นพันธุ์การค้าใหม่สำหรับบริโภคสุก มะม่วงพันธุ์สามปีเป็นมะม่วงพันธุ์ที่มีความดีเด่นทางคุณลักษณะทางเคมีในผลสุก ซึ่งมีค่าความหวาน ค่าปริมาณวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนสูง เหมาะสำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อถ่ายทอดลักษณะคุณค่าทางอาหารสูงให้แก่พันธุ์การค้าดั้งเดิม พันธุ์ Haden มีลักษณะเปลือกหนา มีค่าความแน่นเนื้อสูง พันธุ์นี้จึงเหมาะเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อถ่ายทอดลักษณะให้แก่พันธุ์การค้าเดิม ผลวิเคราะห์ Principal component analysis และ cluster analysis บนพื้นฐาน correlation พบว่าที่ระดับความคล้ายคลึง 0.98 จัดกลุ่มมะม่วงได้ 4 กลุ่ม และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่าง ๆ ด้วย Pearson’s correlation พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทิศทางเดียวกันของค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ได้ในมะม่วงสุกกับค่าสีเปลือกมะม่วงดิบ (r=0.493) และร้อยละของน้ำหนักแห้งมะม่วงดิบ (r=0.498) พบความแน่นเนื้อไม่ปอกเปลือกของมะม่วงสุกมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความแน่นเนื้อปอกเปลือกของมะม่วงสุก (r=0.710)
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564, ธันวาคม). ผลิตภัณฑ์มะม่วง. https://www.arda.or.th/datas/file/1473755018.pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 589 น.
ธีระดา ภิญโญ. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับงานวิจัย. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 10
ฉบับพิเศษ. หน้า 292-304.
นุชนาถ จิตโสภา ลาวัลย์ ฉัตรวิรุฬห์ วิสากรณ์ สุขยานุดิษฐ และ นิธิวดี อรัญอนุรักษ์ (2547). ผลิตภัณฑ์มะม่วง. [ม.ป.ท.].
กรมส่งเสริมการเกษตร.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2564, ธันวาคม). ระบบรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทย.
http://tradereport.moc.go.th/devices/index.html.
Khandaker, M. M., Boyce, A. N., Osman, N., Golam, F., Rahman, M. M. and Sofian-Azirun, M. (2013).
Fruit Development, Pigmentation and Biochemical Properties of Wax Apple as Affected by
Localized Application of GA3 under Field Conditions. Braz. Arch. Biol. Technol. v.56 n.1: pp. 11-20.
Nagata, M., and Yamashita, I. (1992). Simple method for simultaneous determination of chlorophyll
and carotenoids in tomato fruit. J. Japan Soc. Food Sci. Technol 39: 925-928.
Nambi, V. E., Thangavel, K., and Jesudas, D. M. (2015). Scientific classification of ripening period and
development of colour grade chart for Indian mangoes (Mangifera indica L.) using multivariate
cluster analysis. Scientia Horticulturae 193: 90–98.
Raymond, G. McGuire. (1992). Reporting of Objective Color Measurements.U.S.
Department of Agriculture-Agricultural Research Service. Miami. 27: 1254-1255.
Wongkhot, A., Rattanapanone, N. and Chanasut, U. (2012). BrimA, Total Acidity and Total
Soluble Solids Correlate to Total Carotenoid Content as Indicators of the Ripening Process
of Six Thai Mango Fruit Cultivars. CMU. J. Nat. Sci. Vol. 11(1): 97-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.