การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน ePub 3 เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2024.797คำสำคัญ:
สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ , มาตรฐาน EPUB 3 , อุปกรณ์คอมพิวเตอร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน ePub 3 เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการสอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการใช้สื่อการสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน ePub 3 เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อการสอนของผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจจากการใช้สื่อการสอน วิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ 1) สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน ePub 3 เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถนำมาใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพสื่อการสอนอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.31 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.79
References
ขวัญจิรา อุตรมาตย์, กมลลักษณ์ พูดสงคราม และ มนชิดา ภูมิพยัคฆ์. (2566). การพัฒนาสื่อบนเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและพัฒนาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, 2(2), 31-39. สืบค้นจาก https://so14.tci-thaijo.org/index.php/RDGMSJournal/article/view/175
จตุรงค์ ไชยปัน, ภัทร์ณัฐสุดา จารุธีรพันธุ์ และ ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล. (2560). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(2), 15-21. สืบค้นจาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/project-journal/article/view/152885
ชัยณรงค์ บุญชื่น, ธีรศักดิ์ เชื้อหนองควาย และ ศิริกรณ์ กันขัติ์. (2566). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 3 มิติ ผ่านเมตาเวิร์ส กรณีศึกษาคลองแม่ข่า . วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(2), 27–35. สืบค้นจาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/536
ณัฐวุฒิ หงส์จันทร์, วรเมศร์ แสงมาศ, วัฒนา บุญหวาน และ วิทวัส สุขชีพ. (2563). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงเรื่องการจำลองการทำงานอุปกรณ์ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(2), 21-35. สืบค้นจาก https://ph02.tcithaijo.org/index.php/journalindus/article/view/242570
นพพร แก้วเทพ. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการประกอบคอมพิวเตอร์ เพื่อเสริมทักษะปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 115-124. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/63408
นวรัตน์ แซ่โค้ว และ สุรชัย ประเสริฐสรวย. (2558). การพัฒนาแบบจำลองโลกเสมือนจริง สำหรับบทเรียนมัลติมีเดีย ปฏิสัมพันธ์ เรื่องการท่องโลกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 36-45. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/view/33436
วิเชษฐ์ นันทศรี และ กฤช สินธนะกุล. (2562). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสานตามฐานสมรรถนะ ด้วยกระบวนการเรียน MIAP วิชา การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 71-79. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/200722
วิวัฒน์ ชินนาทศิริกุล และ ธนา ละมณี. (2565). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันระบบยืมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(1), 89-101. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JRIST/article/view/247595
วัชราภรณ์ ไพรินทร์. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนกับ ชุดสอน สำหรับครู เรื่อง อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและหลักการทำงานเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Science and arts), 6(2), 359-374. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/30587
ศักรินทร์ ปันชัย, อาชานนท์ บัวหลวง และ ศิริกรณ์ กันขัติ์. (2566). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(2), 36–45. สืบค้นจาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/535
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการ วิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดารัตน์ จงบูรณสิทธิ์. (2550). รูปแบบการสอน ADDIE (ADDIE Model). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สืบค้นจาก https://human.skru.ac.th/husoconference/conf/P7.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ