การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ : กรณีศึกษาร้านฟาร์มเกษตรเพื่อนรัก
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2025.1031คำสำคัญ:
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ , สินค้าเกษตรกร , สินค้าออนไลน์บทคัดย่อ
เพื่อนรัก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ: กรณีศึกษาร้านฟาร์มเกษตรเพื่อนรัก 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ: กรณีศึกษาร้านฟาร์มเกษตรเพื่อนรัก โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ของลูกค้าที่มาใช้ระบบ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ: กรณีศึกษาร้านฟาร์มเกษตรเพื่อนรักและแบบสอบถามความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ: กรณีศึกษาร้านฟาร์มเกษตรเพื่อนรัก ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ: กรณีศึกษาร้านฟาร์มเกษตรเพื่อนรัก ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ผู้ดูแลระบบ (เจ้ากิจการ) สามารถจัดการข้อมูลสินค้า จัดการข้อมูลคำสั่งซื้อประจำวัน/เดือน/ปี จัดการข้อมูลสมาชิก จัดการข้อมูลการจัดส่งประจำวัน/เดือน/ปี และสามารถดูรายงานในส่วนของผู้ดูแลระบบได้ และสมาชิกสามารถจัดการการสั่งซื้อ แจ้งการชำระเงินรวมถึงดูรายงานประวัติการสั่งซื้อได้ 2) ผลการประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจจากลูกค้า พบว่า ด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ด้านการออกแบบและจัดการรูปแบบเว็บไซต์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และด้านการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
References
เกริกพล หนุนแปง. (2564). ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ร้านกมลพาณิชย์จำหน่ายบรรจุภัณฑ์. สืบค้นจาก https://www.istudy.cmru.ac.th
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรพัฒนาการพัฒนาระบบ. สืบค้นจาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29
ณัฏฐ์นิดา คำอ่อง และ บุญทา จิ่งตา. (2567). ระบบขายสินค้าเกษตรกรออนไลน์ ร้านณัฏฐ์นิดาฟาร์ม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(3), 37–52. สืบค้นจาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/767
ณัฐที ปิ่นทอง. (2563). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มะม่วง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารวิชการเกษตร, 38(1), 50-57. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch/article/view/179178/166382
ณัฐธฌาน วรรณคำ. (2565). ระบบจัดการการขายสินค้า (กรณีศึกษา: ร้าน วินเวย์). สืบค้นจาก https://www.istudy.cmru.ac.th
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุรีวิยาสาส์น.
พรรณธิภา เพชรบุญมี และ จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี. (2564). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผลิตภัณฑ์บ้านโฮ่ง ตำบลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก.วารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 4(2), 1-11. สืบค้นจาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/447/288
ภคพล เหมสุลักษณ์, ธัญลักษณ์ เทพาหน, ดนัยพร ยมจันทร์, วริศรา วัจนะพุกะ และ ภัทรมน กล้าอาษา.(2566). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับสินค้าเกษตรชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 375-386. สืบค้นจาก https://publication.npru.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1914/1/041.pdf
อานนท์ วิเศษรุ่งเจริญ. (2561). ระบบร้านค้าสินค้าเกษตรกรออนไลน์และสินค้าแปรรูป. สืบค้นจาก https://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research/sites/default/files/Arnon_Wisetrungcharoen.pdf
Shinde, Y. (2004). Online Trade Magazine Agricultural Technology and Precision Farming. Retrieved from https://www.agritechtomorrow.com/article/2024/08/e-commerce-of-agricultural-products-market-pioneering-the-digital-transformation-of-agriculture/15785
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ