บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล
DOI:
https://doi.org/10.57260/stc.2025.1048คำสำคัญ:
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์, ระบบสุริยะจักรวาล, บทเรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ได้มาแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องระบบสุริยะจักรวาล 2) แบบทดสอบก่อนเรียน 3) แบบทดสอบหลังเรียน 4) แบบทดสอบประจำบทเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคคลทั่วไปที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล มีการแบ่งเนื้อหาบทเรียนออกเป็น 4 บท ได้แก่ เอกภพและระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ พัฒนาการของแบบจำลองระบบสุริยะ และ ปรากฏการณ์ต่างๆ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน เมื่อนำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบ t-test พบว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่เรียนบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
Downloads
References
จันทร์ฉาย ชื่นชม. (2563). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะโดยใช้แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจแนวคิดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ณัชชาภรณ์ สาโรจน์. (2565). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (การค้นคว้าแบบอิสระ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร). สืบค้นจาก https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5522/3/NatchapornSaroj.pdf
ณัฐวดี แก้วคำ. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 81–91. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/266801
ณัฐสุดา สุวรรณมา. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 126-139. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/266801
ธิดารัตน์ ศรีสวัสดิ์. (2561). ผลการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา). สืบค้นจาก https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/10199/1/61920115.pdf
นภัสสร วิริยาพร. (2564). การออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาดิจิทัล, 12(3), 20-33. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JDST/article/view/31800
เบญจมาศ ใจตรง และ อภิชา แดงจำรูญ. (2566). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องระบบสุริยะจักรวาลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 1-15. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/17678
ปิยะภรณ์ ปิยะแสงทอง, รสวลีย์ อักษรวงศ์ และ ชวลิต ชูกำแพง. (2566). การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(5), 13-25. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/259951
พจนีย์ สุขชาวนา และ กิตติพันธ์ เกิดโต. (2564). ผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษา, 13(1), 33–45. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/257660
พิชญา วงศ์สุวรรณ. (2564). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้การจำลองการเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร, 12(1), 45-57. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jce/article/view/258922
พัทธ์ธีรา เพชรหิรัญพงศ์ และ อัมพร วัจนะ. (2565). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาดาราศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษา, 14(1), 75-86. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/issue/view/17009
ไพรวัลย์ ขันทะศิริ, เอกนฤน บางท่าไม้, ศิวนิตอรรถวุฒิกุล และ วรวุฒิ มั่นสุขผล (2565). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีการสอนของนักศึกษาครู. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(8), 203–228. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/262656/177142
วรางคณา โสมะนันทน์ และ ธรรมนูญ วัฒนปรีดา. (2563). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 34(113), 81-94. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/dpusuthiparithatjournal/article/view/247154
ศักรินทร์ ปันชัย, อาชานนท์ บัวหลวง และ ศิริกรณ์ กันขัติ์. (2566). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(2), 36-45. สืบค้นจาก https://li02.tci-thaijo.org/index.php/STC/article/view/535
สุดารัตน์ จงบูรณสิทธิ์.(2550). รูปแบบการสอน ADDIE (ADDIE Model). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สืบค้นจาก https://human.skru.ac.th/husoconference/conf/P7.pdf
สมศักดิ์ ชมภู. (2563). การใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารการศึกษาและเทคโนโลยี, 9(2), 45-58. สืบค้นจาก https://www.journals.thai.edu/index.php/education/article/view/345
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน “วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน” ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. เนื้อหาบทความที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ