ชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคกลางและปฏิกิริยาต่อ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในพื้นที่
คำสำคัญ:
ชีวชนิด, เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, พันธุ์ข้าวบทคัดย่อ
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stål)) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญของในเอเชีย งานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการคัดแยกชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย และศึกษาปฏิกิริยาของชีวชนิดที่พบกับพันธุ์ข้าวต่าง ๆ ที่นิยมปลูกในพื้นที่ เก็บรวบรวมประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากพื้นที่นา 4 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย ลพบุรี สุพรรณบุรี นครนายก และราชบุรี คัดแยกชีวชนิดด้วยระบบมาตรฐานการประเมินสำหรับข้าวของ IRRI จากนั้นนำเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชีวชนิดต่าง ๆ ที่คัดแยกได้ไปทดสอบปฏิกิริยาการลงทำลายพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในพื้นที่ ประกอบด้วย ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 กข57 ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี หลวงประทาน กข43 ขาวหลวง ปทุมธานี 1 กข61 เหลืองอ่อน กข47 ขาวดอกมะลิ 105 เหลืองใหญ่ พิษณุโลก 2 ขาวตาแห้ง กข7 ขาวบำรุง เปรียบเทียบอ้างอิงกับข้าวพันธุ์มาตราฐานต้านทานคือ PTB33 และ มาตรฐานอ่อนแอคือ TN1 ผลการศึกษาพบว่าสามารถคัดแยกชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้มากถึง 31 ชีวชนิด โดยเป็นชีวชนิดที่มีรายงาน 2 ชีวชนิดคือ ชีวชนิดที่ 3 และ 4 และที่ยังไม่มีรายงานชัดเจน 29 ชีวชนิด ประกอบด้วย 9, 8, 6 และ 6 ชีวชนิด จากจังหวัดลพบุรี สุพรรณบุรี นครนายก และ ราชบุรี ตามลำดับ และเมื่อนำชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่คัดแยกได้ทั้งหมดทดสอบกับพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในพื้นที่ภาคกลางพบว่า ข้าว 4 พันธุ์ คือ ชัยนาท 1 กข61 พิษณุโลก 2 และขาวบำรุง มีคุณลักษณะต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทุกชีวชนิดที่พบได้ดีเทียบเท่าข้าวพันธุ์มาตราฐานต้านทานเปรียบเทียบ PTB33
References
กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.ricethailand.go.th/rkb3/(27 สิงหคม 2564).
จินตนา ทายาธรรม นิภา จันทร์ศรีสมหมาย วีรวุฒิ กตัญูกุล สว่างขัดขาว วันทนาเทวภูชม และสมศรีสุขสมวัฒน์. 2529. การศึกษาความต้านทานของพันธุ์ข้าวต่อแมลงศัตรูข้าวที่สําคัญแมลงและสัตว์ศัตรูพืช. หน้า 154-169. ใน: เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ กองกีฏวิทยาครั้งที่ 5. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ
จิรพงศ์ ใจรินทร์ วราภรณ์ วงศ์บุญ กิจติพงษ์ เพ็งรัตน์ สงวน เทียงดีฤทธิ์ พิกุล ลีลากุด และ กัลยา สานเสน. 2552. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมีคุณภาพเมล็ดเหมือนขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย. หน้า 187-207. ใน: เอกสารประกอบการประชุมข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552. กรมการข้าว, กรุงเทพฯ.
ปรางค์นัดดา ประกอบนา, ปภพ สินชยกุล, วิชัย สรพงษ์ไพศาล, คณิตา เกิดสุข และอารยา บุญศักดิ์ 2563. พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกของเกษตรกรในเขตภาคกลาง และความสัมพันธ์ต่อคุณสมบัติประจำพันธุ์. วิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ 3(1) : 29-38.
พัชนี ชัยวัฒน์ วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ นลินี เจียงวรรธนะ อภิชาติ ลาวัณย์ประเสริฐ วรรณพรรณ จันลาภา สาธิต ทยาพัชร ชัยรัตน์ จันทร์หนู และภมร ปัตตาวะตัง. 2552. ความรุนแรงในการทำลายข้าวพันธุ์ต้านทานมาตรฐานและข้าวพันธุ์รับรองของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. หน้า 243-254. ใน: เอกสารประกอบการประชุมข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552. กรมการข้าว, กรุงเทพฯ.
พุฒิพงษ์ เพ็งฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ จิราพร ตยุติวุฒิกุล เจตน์ คชฤกษ์ สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ และภมร ปัตตาวะตัง. 2554. ความหลากหลายทางชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 27(1): 27-37.
เพชรหทัย ปฏิรูปานุสร นลินี เจียงวรรธนะ พจนาจรูญชัย และ บุญโฮม ชํานาญกุล. 2535. ชีวชนิดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเขตศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก. สัมมนาวิชาการการพัฒนางานวิจัยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว. วันที่ 25-27 มีนาคม 2535 ณ โรงแรมแม่ยมพาเลส จ. แพร่
วัชระ ภูรีวิโรจน์กุล. 2542. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้านทานโรคแมลงในรายงาน ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
สำนวน ฉิมพกา และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.
สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2544. เรียนรู้ การจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. เอกสารวิชาการ. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ
Athwal, D.S., M.D. Pathak, E.H. Bacalangco and C.D. Pura. 1971. Genetics of resistance to brown planthoppers and green leafhoppers in Oryza sativa L.. Crop Science. 11: 747-750.
Coyne, J.A. and H.A. Orr. 2004. Speciation. Sunderland: Sinauer Associates.
Heinrichs, E.A. and O. Mochida. 1984. From secondary to major pest status: the case of insecticide-induced rice brown planthopper, Nilaparvata lugens, resistance gene. Protection Ecology 7: 201-218.
International Rice Research Institute (IRRI). 1988. Standard Evaluation System for Rice. International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines. 54 p.
Kabir, M.A. and G.S. Khush, 1988. Genetic analysis of resistance to brown planthopper in rice (O sativa L.). Plant Breeding 100: 54-58.
Khush, G.S., A.N.M. Rezaul Karim and E.R. Angeles. 1985. Genetics of resistance of rice cultivar ARC 10550 to Bangladesh brown planthopper biotype. Journal of Genetics 64(2-3): 121-125.
Lakshminarayana, A. and G.S. Khush, 1977. New genes for resistance to the brown planthoppers in rice. Crop Science 17:96-100.
Maynard Smith, J. and E. Szathmáry. 1997. The Major Transitions in Evolution. Oxfordshire: Oxford University Press.
Nei, M. and W.H. Li. 1979. Mathematical model for studying genetic variation in terms of restriction endonucleases. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America 76: 5269–5273.
Nemoto, H., R. Ikeda, and C. Kaneda. 1989. New genes for resistance to brown planthopper, Nilapavata lugens Stål., in rice. Japanese Journal of Breeding 39:23-28.
Pathak, P.K., R.C. Saxena and E.A. Heinrichs. 1982. Para film sachet for measuring honeydew excretion by Nilaparvata lugens on rice. Journal of economic entomology 75:194-195.
Thamarai, M. and R.P. Soundararajan. 2017. Evaluation of antibiosis resistance to brown planthopper, Nilapavata lugens (Stål) in rice. Journal of Entomology and Zoology Studies 5(3): 954-957.
Verma, S.K., P.K. Pathak, B.N. Singh and M.N. Lai. 1979. Indian biotypes of the brown planthopper. International Rice Research Newsletter 4: 7.