ผลของการแช่และบ่มเมล็ดผักบุ้งที่มีต่อการผลิตต้นอ่อนผักบุ้ง

ผู้แต่ง

  • ชมดาว ขำจริง สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การบ่ม, ต้นอ่อน, ผักบุ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการการแช่และบ่มเมล็ดผักบุ้งในการผลิตต้นอ่อนผักบุ้ง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ completely randomize design (CRD) จำนวน 6 สิ่งทดลองคือ 1) เมล็ดปกติ (ชุดควบคุม) 2) แช่เมล็ดด้วยน้ำกลั่น 8 ชั่วโมง นำเมล็ดมาบ่ม 20 ชั่วโมง 3) แช่เมล็ดด้วยน้ำกลั่น 12 ชั่วโมง 4) แช่เมล็ดด้วยน้ำ กลั่น 12 ชั่วโมง นำเมล็ดมาบ่ม 12 ชั่วโมง 5) แช่เมล็ดด้วยน้ำกลั่น 24 ชั่วโมง และ 6) แช่เมล็ดด้วยน้ำกลั่น 24 ชั่วโมง นำเมล็ดมาบ่ม 24 ชั่วโมง ทรีทเมนต์ละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 200 เมล็ด ผลการวิจัยพบว่า วิธีการผลิตต้นอ่อนผักบุ้ง โดยการเตรียมความพร้อมแช่เมล็ด 12 ชั่วโมง ส่งผลให้มีเปอร์เซ็นต์การงอก (98.50 เปอร์เซ็นต์) น้ำหนักสด (183.00 กรัม) มากที่สุด อายุการเก็บเกี่ยวที่เร็ว (6 วันหลังเพาะ) และไม่พบการเกิดเชื้อรา การผลิตต้นอ่อนผักบุ้งโดยแช่เมล็ด 24 ชั่วโมง นำเมล็ดมาบ่ม 24 ชั่วโมง มีการหลุดของเปลือกหุ้มเมล็ดมากที่สุด (48.03 เปอร์เซ็นต์)

References

จุฑามาศ ฟักทองพรรณ. 2559. การเตรียมความพร้อมเมล็ดเพื่อความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม. วารสารวิชาการเกษตร 34(2): 196-206.

ดิเรก ขำคง. 2563. เทคนิคปลูกต้นอ่อนผักบุ้งจำหน่าย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:bhttps://today.line.me/th/v2/article/KPGzmg. (28 มิถุนายน 2565).

ธีระรัตน์ ชิณแสน, เกศจิตต์ ขามคุลา, นภาพร เวชดามา และเกศศิรินทร์ แสงมณี. 2561. การส่งเสริมความงอกเมล็ดพันธุ์มันแกวด้วยวิธี Hydro priming. วารสารแก่นเกษตร 46 (ฉบับพิเศษ): 1269–1278.

นันทิยา วรรธนะภูติ. 2542. การขยายพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร, กรุงเทพมหานคร. 447 หน้า.

มุกดา สุขสวัสดิ์. 2547. การเพาะถั่วงอก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร, กรุงเทพมหานคร. 80 หน้า.

มุกดา สุขสวัสดิ์ และสุวารี สายจีน. 2548. การศึกษาระยะเวลาการแช่เมล็ดและอัตราส่วนวัสดุเพาะเพื่อผลิตผักโตเหมี่ยว. หน้า 541-548 ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุมนทิพย์ บุนนาค. 2540. การเจริญเติบโตและฮอร์โมนพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 354 หน้า.

อมรรัตน์ ชุมทอง และณัฐริกา ทองอินทร์. 2562. ผลของวัสดุเพาะกล้าต่อการผลิตต้นอ่อนผักบุ้งจีน. หน้า 86-93. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่

ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

อภิชาติ ศรีสอาด และพัชรี สำโรงเย็น. 2558. เมล็ดงอกเพื่อสุขภาพทำเงิน. สำนักพิมพ์ นาคา อินเตอร์มีเดีย,

กรุงเทพมหานคร. 136 หน้า.

เอกรินทร์ สารีพัว, ปริญดา แข็งขัน และชยพร แอคะรัจน์. 2561. ผลของพันธุ์และวัสดุเพาะต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตในการผลิตต้นอ่อนผักบุ้ง. วารสารแก่นเกษตร 46(3): 543-548.

Abebe A.T. and A.T. Modi. 2009. Hydro-priming in dry bean (Phaseolus vulgaris L.). Journal of Seed Science 2(2): 23-31.

Ajouri, A., H. Asgedom and M. Becker. 2004. Seed priming enhances germination and seedling growth of barley under conditions of P and Zn deficiency. Journal of Plant Nutrition and Soil Science 167: 630–636.

Basra, S.M.A., M. Farooq, R. Tabassan and N. Ahmad. 2005. Physiological and biochemical aspects of presowing seed treatments in Fine Rice (Oryza sativa L.). Seed Science and Technology. 33: 623–628.

Dutta, P. 2018. Seed Priming: New Vistas and Contemporary Perspectives in Advances in Seed Priming. Springer Singapore, Singapore. 307 p.

ISTA. 2013. Rules Proposals for the International Rules for Seed Testing 2010 Edition. The International Seed Testing Association, Switzerland. 47 p.

Warcup J.H., 1973. Symbiotic germination of some Australia terrestrial orchids. New Phytologist 72: 387 – 392.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ