ผลของฤดูการผลิตเมล็ดพันธุ์ต่อโภชนาการของทานตะวันงอก
คำสำคัญ:
คุณค่าทางอาหาร, เมล็ดงอก, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระบทคัดย่อ
เมล็ดงอก (sprouts) เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เนื่องจากอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สูงกว่าเมล็ดแห้งและต้นพืชที่โตเต็มที่ ทั้งนี้ฤดูการผลิตเมล็ดพันธุ์มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืช และอาจส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดงอก จึงทำการศึกษาปริมาณวิตามินซี, คลอโรฟิลล์, ไฟเบอร์, แร่ธาตุ, สารพฤกษเคมี และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของทานตะวันงอกพันธุ์เมล็ดดำ OP ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 และฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม–มิถุนายน พ.ศ.2561 ณ แปลงทดลอง 1 ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผลการทดลองพบว่า เมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่ผลิตในฤดูหนาวมีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด เท่ากับ 76.08 กรัม สูงกว่าของเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในฤดูร้อน (71.38 กรัม) น้ำหนักเฉลี่ยของทานตะวันงอกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ใน 2 ฤดูกาลมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ทานตะวันงอกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูหนาวและฤดูร้อน มีปริมาณคลอโรฟิลล์, ไฟเบอร์, P และ Fe ไม่แตกต่างกัน แต่ทานตะวันงอกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูหนาวให้ปริมาณวิตามินซี, N, K, Ca, Mg และ S สูงกว่าของทานตะวันงอกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูร้อน ปริมาณสารพฤกษเคมี พบว่าทานตะวันงอกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูหนาวมีปริมาณ Phenolics และ Flavonoids สูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในฤดูร้อน เช่นเดียวกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทั้งจากปฏิกิริยา DPPH และ ABTS ของทานตะวันงอกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูหนาวมีค่าสูงกว่าของเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตในฤดูร้อน ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ทานตะวันที่ผลิตในฤดูหนาวให้เมล็ดงอกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าเมล็ดงอกที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ในฤดูร้อน
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. ทานตะวัน. สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ. 13 น.
ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 108 น.
ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ และธนิกพงศ์ ครองข้าวนาสาร. 2556. ปริมาณวิตามินซี คลอโรฟิลล์ และเส้นใยอาหาร ของเมล็ดทานตะวันงอกอายุต่างๆ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 3 (พิเศษ): 142-145.
รัชนี โสภา, ปัทมพร วาสนาเจริญ, จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี, ละอองดาว แสงหล้า และโสพิศ ใจปาละ. 2557. ช่วงปลูกและเก็บรักษาที่เหมาะสมเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดสายพันธุ์ดีเด่น. โครงการวิจัยและพัฒนาถั่วเหลือง. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ. 13 น.
Alscher, R.G. and J.R. Cumming. 1990. Stress responses in plants: adaptation and acclimation mechanisms. Plant Biology 12: 1-15, doi: 10.1017/S0014479700019530.
American Association for Cancer Research (AACR). 2005. Broccoli sprouts, cabbage, Ginkgo biloba and garlic: a grocery list for cancer prevention. American Association for Cancer Research. Public & Media: News. [Online]. Available: http://www.aacr.org/default.aspx?p=1 275&d=553 [2010, June 25].
Association of Official Analytical Chemists (AOAC). 2000. Official Methods of Analysis of Association of Official Analytical Chemists. 17th ed., Association of Official Analytical Chemists International. Gaithersburg. 2000 p.
Bewley, J., and M. Black. 1978. Physiology and Biochemistry of Seeds in Relation to Germination. Berlin Heidelbergo. New York. 306 p.
Boskou, G., F.N. Salta, S. Chrysostomou, A. Mylona, A. Chiou. and N.K. Andrikopoulos. 2006. Antioxidant capacity and phenolic profile of table olives from the Greek market. Food Chemistry 94: 558-564.
Copeland, L. O. and M. B. McDonald. 1985. Principles of Seed Science and Technology. 4th ed. Kluwer Acadamic, Massachusetts. 488 p.
Djeridane, A., M. Yousfi, B. Nadjemi, D. Boutassouna, P. Stocker, and N. Vidal. 2006. Antioxidant activity of some Algerian medicinal plants extracts containing phenolics compounds. Food Chemistry 97: 654-660, doi: 10.1016/j.foodchem.2005.04.028.
Hsu, C.F., H. Peng, C. Basle, J. Travas-Sejdic and P.A. Kilmartin. 2011. ABTS•+ scavenging activity of polypyrrole, polyaniline and poly (3,4-ethylenedioxythiophene). Society of Chemical Industry 60: 69-77, doi: 10.1002/pi.2912.
International Seed Testing Association (ISTA). 1999. International Rules for Seed Testing-Rules 1999. International Seed Testing Association. Zurich. Switzerland. 284 p.
Kahkonen, M.P., A.I. Hopia, H.J. Vuorela, J.P. Rauha, K. Pihlaja, T.S. Kujala and M. Heinonen. 1999. Antioxidant activity of plant extracts containing phenolic compounds. The Journal of Agricultural and Food Chemistry 47: 3954-3962, doi: 10.1021/jf990146l.
Mackinney, G. 1941. Absorption of light by chlorophyll solutions. Journal of Biological Chemistry 140: 315-322, doi: 10.1016/S0021-9258(18)51320-X.
Oswald, J. and D. Oswald. 2002. Sprout for survival. Plant Base Nutrition 5: 1-16.
Pagamas, P. and E. Nawata. 2007, Effect of high temperature during the seed development on quality and chemical composition of chili pepper seed. Japanese Journal of Tropical Agriculture 51: 22-29, doi: 10.11248/jsta1957.51.22.
Schenker, S. 2002. Facts behind the headlines, Broccoli. British Nutrition Foundation-Nutrition Bulletin 27: 159-160.
Tahir I.S.A. and N. Nakata. 2005. Remobilization of nitrogen and carbohydrate from stem of bread wheat in response to heat stress during grain filling. Journal of Agronomy and Crop Science 191: 106-115, doi: 10.1111/j.1439-037X.2004.00127.x.