แรงจูงใจของเกษตรกรในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร กรณีศึกษา บ้านหนองทราย ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ภาคการเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจของเกษตรกรในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการทำเกษตร โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากเกษตรกรในพื้นที่ บ้านหนองทราย ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจที่มีผลต่อเกษตรกรให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการทำการเกษตรทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) แรงจูงใจทางด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับมากที่สุด (4.68) 2) แรงจูงใจทางด้านสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด (4.33) และ 3) แรงจูงใจทางด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมากที่สุด (4.45)
References
กังสดาล อยู่เย็น. 2544. พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชน
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชไนพร สิงห์ตระหง่าน. 2561. การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดาเนินชีวิต: กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังนกไข่ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ฉบับเสริม ครบรอบ 12 ปี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์: 55-69.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. ม.ป.ป. ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง (ระบบออนไลน์). https://www.pandinthong.com/knowledgebase-dwl-th/422791791792 (17 พฤษภาคม 2564).
นคเรศ ณ พัทลุง และ ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. 2555. 6 คุณลักษณะภาวะผู้นําที่มีผลต่อการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย 32(2): 131-143.
นนทกานต์ จันทร์อ่อน. 2557. ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://library.senate.go.th/document/Ext7091/7091777_0002.PDF (10 พฤษภาคม 2564).
พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง .อนุศรา ฉิมมณี.จิรัฐินาฎ ถังเงิน และคะนึงรัตน์ คำมณี 2562. การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร ชุมชนบ้านหวายเหนียว อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 37(3): 527 - 537.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และ นิศรา จันทร์เจริญสุข. 2556. การจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 7(1) มิถุนายน - พฤศจิกายน 2556: 23-36.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 (10 พฤษภาคม 2564).
สุคนธ์ เหลืองอิงคะสุต. 2551. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนว พระราชดำริกับการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.