การปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วรพรรณ ทองดอนเหมือน ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คนึงรัตน์ คำมณี ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ดนชิดา วาทินพุฒิพร ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

การปรับตัวของเกษตรกร, การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ, การเลี้ยงกุ้ง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 2) ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเลี้ยงกุ้ง และ 3) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเกษตรผู้ลี้ยงกุ้ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จำนวน 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุน้อยกว่า 40 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยทำงาน จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์เลี้ยงกุ้ง 5-10 ปี มีที่ดินเป็นของตนเอง 2) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ กุ้งไม่กินอาหาร หรือกินอาหารลดลง และน้ำไม่ได้คุณภาพเนื่องจากขาดออกซิเจนในบ่อ โดยเฉพาะในฤดูร้อน และ 3) การปรับตัวของกลุ่มตัวอย่างต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกษตรกรนิยมตรวจสอบการกินอาหารของกุ้งจากยอสำหรับให้อาหารกุ้ง และมีการปรับสภาพดินด้วยการใส่ปูนขาว มีการสังเกตอาการกุ้งที่ป่วยจากเหงือกกุ้งที่มีสีผิดปกติ ดังนั้น ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเกษตรกรควรหาเทคนิคเพิ่มออกซิเจนในบ่อ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐควรให้ความรู้เกี่ยวกับการให้อาหารกุ้งที่เหมาะสม โดยเฉพาะการจัดการให้อาหารในสภาวะแวดล้อมที่ไม่ปกติในน้ำมีออกซิเจนต่ำ และการดูแลคุณภาพน้ำเพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

References

กรกวี ศรีอินทร์. 2559.การศึกษาคุณภาพน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งขาวในระบบปิดในพื้นที่ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20180221171010_1_file.pdf (10 เมษายน 2564).

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางนํ้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ม.ป.ป, ผลกระทบจากสภาพอากาศและฤดูกาลต่อคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTQxNzky (20 มกราคม 2564).

นิติ ชูเชิด. 2551. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ กุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งก้ามกรามอย่างยั่งยืน (ปีที่ 3). คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

พัชราวลัย ศรียะศักดิ์ นิวุฒิ หวังชัย ชนกันต์ จิตมนัส จงกล พรมยะ และหลุยส์ เลอเบล. 2557. ผลกระทบจากสภาพอากาศและฤดูกาลต่อคุณภาพนํ้าในบ่อเลี้ยงสัตว์นํ้า. วารสารวิจัยมข. 19(5): 743-751.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, มปป. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 13 เรื่องที่ 10 การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ (saranukromthai.or.th) (20 กุมภาพันธ์ 2564).

ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา, มปป. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: ระบบศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา - Article Content (tmd.go.th) (20 กุมภาพันธ์ 2564).

ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา. 2563. ภูมิอากาศจังหวัดนครปฐม. ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: ภูมิอากาศจังหวัดนครปฐม (tmd.go.th) (20 กุมภาพันธ์ 2564).

สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง. 2556. คู่มือการเลี้ยงกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) แบบพัฒนา. กรมประมง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: รายงาน ผลการศึกษาครั้งที่ 1 (fisheries.go.th) (20 กุมภาพันธ์ 2564).

สำนักงานประมงจังหวัดนครปฐม. 2563. ข้อมูลเกษตรกรและพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำของจังหวัดนครปฐม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities (15 มีนาคม 2564).

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. 2553. ความสำคัญทางเศรษฐกิจ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/shrimp/history/01-04.php (20 กุมภาพันธ์ 2564).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ