ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้ม Citrus aurantium L. มีฤทธิ์ยับยั้งรา Aspergillus sp. ในผลิตภัณฑ์ขนมปังสด
คำสำคัญ:
น้ำมันหอมระเหย, ฤทธิ์ต้านรา, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระบทคัดย่อ
น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้ม Citrus aurantium L. (CaEO) เป็นสารประกอบอินทรีย์จำพวกเทอร์พีนส์ และฟีนีลโพรพีน ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และมีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้เป็นวัตถุกันเสียในอาหาร จึงนำ CaEO มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งรา Aspergillus sp. สาเหตุการเน่าเสียในผลิตภัณฑ์ขนมปังสด ด้วยวิธี poisoned food technique และทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีสเปกโตรโฟโตเมตริกโดยทดสอบความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระ 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH assay) ผลการทดสอบพบว่า CaEO ที่ความเข้มข้น 2.50, 5.00 และ 10.00 µl/ml สามารถยับยั้งการเจริญของโคโลนีรา Aspergillus sp. ได้โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนี 2.68 ± 0.1, 2.40 ± 0.24 และ 1.63 ± 0.09 cm ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสารละลายน้ำซึ่งใช้เป็นชุดควบคุม (2.98 ± 0.05 cm) และพบว่า CaEO ที่ความเข้มข้น 10.00 µl/ml มีฤทธิ์ยับยั้งได้ใกล้เคียงกับสารละลายแคลเซียมโพรพริโอเนต 0.2% ที่ใช้เป็นสารมาตรฐาน โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนี เท่ากับ 1.50 ± 0.23 cm ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับสารละลายน้ำที่เป็นชุดควบคุม (p≤0.05) เมื่อนำ CaEO ความเข้มข้น 5.00 และ 10.00 µl/ml เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ขนมปังสด โดยมีแคลเซียมโพรพิโอเนตเป็นชุดอ้างอิง และสารละลายน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นชุดควบคุม พบว่าขนมปังสดที่เก็บรักษา 1-4 วัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ และในวันที่ 5 พบจุดสีดำเล็กๆบนผิวขนมปังจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับชุดควบคุมซึ่งมีจำนวนจุดดำมากกว่า ในขณะที่ชุดอ้างอิงไม่พบจุลินทรีย์บนผิวหน้าขนมปังสด เมื่อนำขนมปังสดเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA บ่มเพาะ ที่อุณหภูมิ 27°C ในวันที่ 4 พบว่า CaEO ความเข้มข้น 5.00 µl/ml มีราเกิดขึ้น 8.20 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม (CFU/g) ในขณะที่ CaEO ความเข้มข้น 10.00 µl/ml และสารละลายแคลเซียมโพรพิโอเนต ไม่มีราเกิดขึ้น และการทดสอบการกำจัดอนุมูลอิสระ DPPH พบว่า CaEO แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำ โดยมีค่า EC50 > 1,000 µg/ml เมื่อเทียบกับสารละลายมาตรฐาน α-tocopherol (Vitamin E) ที่มีฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูลอิสระสูงกว่ามีค่า EC50 เท่ากับ 43.47 µg/ml ดังนั้น CaEO ที่ความเข้มข้น 10.00 µl/ml มีฤทธิ์ในการยับยั้งรา Aspergillus sp. ได้สูงสุด ซึ่งให้ผลใกล้เคียงกับสารละลายแคลเซียมโพรพริโอเนต และ CaEO นี้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้ต่ำ
References
ธิราภา แสนเสนา นพดล กิตติวราฤทธิ์ มาลิน จุลศิริ และรุ่งระวี เติมศิริฤกษ์กุล. 2536. ฤทธิ์ต้านเชื้อและฤทธิ์ต้านการก่อ กลายพันธุ์ของสกัดจากผิวผลพืชตระกูลส้ม. โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล 27(1): 1-5.
วิภาวัน จุลยา. 2549. เอกสารประกอบการสอนวิชาเบเกอรี่. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ วิทยาเขตพระนครใต้.
Anwar S., N. Ahmed, A. Speciak, F. Cimino and A. Saija. 2016. Bitter Orange (Citrus aurantium L.) Oils. pp. 259-268. In: V.R. Preedy. (Ed.). Essential Oils in Food Preservation, Flavor and Safety. Academic Press, Massachusetts.
Caccioni, D. R. L., M. Guizzardi, D. M. Biondi, A. Renda and G. Ruberto.1998. Relationship between volatile component of citrus fruit oils and antimicrobial action on Penicillium digitatum and Penicillium italicum. International Journal Food Microbiology 43: 27-36.
Choi, H.S., H. S. Song, H. Ukeda and M. Sawamura. 2000. Radical-scavenging activities of citrus essential oils and their components: Detection using 1, 1-diphenyl-2-picrylhydrazyl. Journal of Agricultural and Food Chemistry 48: 4156-4161.
Debonne, E., F.Van Bockstaele, S. Samapundo, M. Eeckhout and F. Devlieghere. 2018. The use of essential oils as natural antifungal preservatives in bread products. Journal of Essential Oil Research doi: 10.1080/10412905.2018.148 6239.
Fisher, K. and C. A. Phillips. 2006. The effect of lemon, orange and bergamot essential oils and their components on the survival of Campylobacter jejuni, Escherichia coli O157, Lisetria monocytogenese, Bacillus cereus and Stephylococcus aureus in vitro and in food systems. Journal of Applied Microbiology 101(6): 1232-1240.
Knobloch, K., A. Pauli, N. Iberl, H.M Weis, and N. Weig. 1988. Mode of action of essential oil components on whole cell of bacteria and fungi in plate tests. pp. 287-299. In: P. Schreier (Ed.). Bioflavour. Walter de Gruyther, Berlin.
Kurita, N., M. Miyaji, R. Kurane and Y. Takahara. 1981. Antifungal activity of components of essential oils. Agricultural and Biological Chemistry 45(4): 945-952.
Lanciotti, R., A. Gianotti, F. Patrignani, N., Belletti, E. M. Guerzoni and F. Gardin. 2004. Use of natural aroma compounds to improve shelf life and safety of minimally processed fruits. Trends in Food Science and Technology 15: 201-208.
Lota, M. L., D.D. Serra D, F. Tomi and J. Casanova. 2000. Chemical variability of peel and leaf essential oils of mandarins from Citrus reticulata Blanco. Journal of Biochemical Systematics and Ecology 28: 61-78.
Ou, M. C., Y. H. Liu, Y. W. Sun and C. F. Chan. 2015. The composition, antioxidant and antibacterial activities of cold-pressed and distilled essential oils of Citrus paradisi and Citrus grandis (L.) Osbeck. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine vol.2015 https://doi.org/10.1155/2015/804091.
Sarrou, E., P. Chatzopoulou, K. Dimassi-Theriou and I. Therios. 2013. Volatile constituents and antioxidant activity of peel, flowers and leaf oils of Citrus aurantium L. growing in Greece. Molecules. 18: 10639-10647.
Sharma, N., and A. Tripathi. 2008. Effect of Citrus sinensis (L.) Osbeck epicarp essential oil on growth and morphogenesis of Aspergillus niger (L.) Van Tieghem. Microbiological Research 163(3): 337-344.
Simas D.L.R., S.B.M., Amorim, F.R.V., Goulart, C.S., Alviano, D.S. Alviano and A.J.R., Silva. 2017. Citrus species essential oils and their components can inhibit or stimulate fungal growth in fruit. Industrial Crops and Products 98: 108-115.
Yi, Q., R.E. Hoskins, E.A. Hillringhouse, S.S. Sorensen, M.W. Oberle, S.S. Fuller, and J.C. Wallace 2008. Integrating open-source technologies to build low-cost information system for improved access to public health data. International Journal of Health Geographics 7, 29(2008). htps://doi.org/10.1186/1476-072x-7-29.