ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของหน่อตามกล้วยหอมทอง

ผู้แต่ง

  • พิมพ์นิภา เพ็งช่าง สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ขวัญหทัย ทนงจิตร สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดรุณี ถาวรเจริญ สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภาสันต์ ศารทูลทัต ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

กล้วยหอมทอง, การเจริญเติบโต, ความสูงต้นกล้วย, พาโคลบิวทราโซล

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของสารพาโคลบิวทราโซลที่ความเข้มข้นต่างกัน  ต่อการเจริญเติบโตของหน่อตามในกล้วยหอมทอง  โดยให้สารพาโคลบิวทราโซลที่ความเข้มข้น  125,  250,  500 และ 1,000  มก. a.i./ต้น  กับหน่อตามอายุ 2 เดือน    ของต้นกล้วยหอมทองเปรียบเทียบกับหน่อตามที่ไม่ได้รับสาร  (ชุดควบคุม) วางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomized Complete Block Design)  มี 5 ทรีตเมนต์ แต่ละทรีตเมนต์มี 10 ซ้ำ จากการศึกษาพบว่า               ความสูงของลำต้นเทียมลดลงตามความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซลที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงความสูงของลำต้นเทียมเริ่มแตกต่างตั้งแต่เดือนที่ 6 หลังได้รับสารเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ได้รับสาร ดังนี้  229.0, 221.5, 211.9, 205.8 และ 189.0 ซม. ตามลำดับ  นอกจากนี้ยังส่งผลให้ขนาดเส้นรอบวงของลำต้นเทียม  ระยะห่างระหว่างกาบใบแคบลงและความยาวก้านใบสั้นลงตามความเข้มข้นของสารที่เพิ่มขึ้น โดยความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซลที่เหมาะสม คือ 125 มก.a.i/ต้น และการใช้ความเข้มข้นของสารพาโคลบิวทราโซลที่สูงเกินไปส่งผลให้เกิดลักษณะที่ผิดปกติกับลำต้นเทียม

References

พิมพ์นิภา เพ็งช่าง, ภาสันต์ ศารทูลทัต, กัลยาณี สุวิทวัส, พินิจ กรินท์ธัญญกิจ, เรืองศักดิ์ กมขุนทด

และขวัญหทัย ทนงจิตร. 2561. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไข่พันธุ์ เกษตรศาสตร์ 2. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49(1)พิเศษ : 416-418.

พิมพ์นิภา เพ็งช่าง, กัลยาณี สุวิทวัส, ขวัญหทัย ทนงจิตร และ ภาสันต์ ศารทูลทัต. 2562.

การเจริญเติบโตของกล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ในหน่อตามที่ได้รับสารพาโคลบิวทราโซลในอายุที่

ต่างกัน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 50(2) พิเศษ: 325-328.

เบญจมาศ ศิลาย้อย. 2558. กล้วย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 512 หน้า

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2564. (ระบบออนไลน์): แหล่งข้อมูล:

http://impexp.oae.go.th/service/report_hs01.php?S_YEAR=2563&i_type=1&HS_CODE=0803&wf_search=&WF_SEARCH=Y (11 พฤศจิกายน 2564).

El-Otmani, M., N. Cheikh and M. Sedki. 1992a. Effects of paclobutrazol on greenhouse-grown bananas

in Morocco. Scientia Horticulturae 49: 255-266.

El-Otmani, M., K. Jabri and M. Sedki. 1992b. Paclobutrazol effect on development of greenhouse-grown banana: A 2-year assessment. Acta Horticulturae 296: 89-96.

Hedden, P. 1983. Gibberellin metabolism and the mode of action of plant growth regulators.

Annual Report of East Malling Research Station 1982:147-148.

Maia, E., D.L. Siqueira, L.C. Salomao, L.A. Peternelli, M.C. Ventrella and R.P. Cavatte. 2009. Development of the banana plants ‘Prata Ana’ and ‘FHIA-01’ under the effect of paclobutrazol applied on the soil. Annals of the Brazilian Academy of Sciences 81(2): 257–263.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ