ผลของการเพิ่มประสิทธิภาพน้ำสกัดจากมูลสัตว์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ผักสลัดกรีนโอ๊คในระบบไฮโดรโพนิกส์

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา พลศร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ศิริวรรณ แดงฉ่ำ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ผักสลัดกรีนโอ๊ค, น้ำสกัดจากมูลสัตว์, การเพิ่มประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการเพิ่มประสิทธิภาพน้ำสกัดจากมูลสัตว์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดกรีนโอ๊คในระบบไฮโดรโพนิกส์ โดยให้สารละลายธาตุอาหารพืชไม่หมุนเวียนแบบเติมอากาศ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design, CRD) ประกอบด้วย 5 ทรีทเมนต์ ดังนี้ 1) สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์ (Stock A + Stock B) อัตราส่วน 1:1 (ชุดควบคุม) 2) น้ำสกัดจากมูลไส้เดือนดิน 3) น้ำสกัดจากมูลวัว 4) น้ำสกัดจากมูลสุกร และ 5) น้ำสกัดจากมูลแพะ โดยน้ำสกัดจากมูลสัตว์ทุกชนิดผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการเติมกากน้ำตาลและเติมอากาศ และปรับค่า EC ให้เท่ากับ 2 mS/cm ทำการบันทึกการเจริญเติบโตทุก 5 วัน และเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อผักสลัดกรีนโอ๊คมีอายุ 25 วันหลังการย้ายปลูก (40 วัน) ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดกรีนโอ๊คที่ได้รับสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์ มีจำนวนใบ ความกว้างของทรงพุ่ม และน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำสกัดจากมูลสัตว์ที่ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพ ขณะที่ผักสลัดกรีนโอ๊คที่ได้รับน้ำสกัดจากมูลไส้เดือนดิน และมูลแพะที่ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพ และสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์ มีค่าความเขียวของใบไม่แตกต่างกัน แต่มากกว่าในผักสลัดกรีนโอ๊คที่ได้รับน้ำสกัดจากมูลสุกรและมูลวัวที่ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ทั้งนี้น้ำสกัดจากมูลแพะที่ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพมีแนวโน้มที่ดีในการนำมาใช้ทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์ในการผลิตผักสลัดกรีนโอ๊คได้

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://esc.doae.go.th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C/, ( 25 พฤษภาคม 2564).

ณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ และชุลีมาศ บุญไทย อิวาย. 2561. ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพของน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน. แก่นเกษตร 46 (พิเศษ 1): 1188-1192.

ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2562. 24 ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.juihuawittaya.ac.th/news-detail_19352_230452, (25 พฤษภาคม 2564).

ปิยะภรณ์ จิตรเอก. 2556. ผลของน้ำหมักชีวภาพร่วมกับสมุนไพรต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัด 4 ชนิดในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี. 62 หน้า.

พิชญ์ ตั้งสมบัติวิจิตร ปวีณา สุขสอาด อุทาน บูรณศักดิ์ศรี และกิตติ บุญเลิศนิรันดร์. 2564. ผลของปุ๋ยมูลไส้เดือนดินร่วมกับแหนแดงต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 13(2): 343-356.

เมธี นวสุรกุล. 2560. ผลของน้ำสกัดจากมูลไส้เดือนดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกวางตุ้งฮ่องเต้ในระบบไฮโดรโพนิกส์. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

หน้า.

วรัญญู หินชีระนัน. 2559. อัตราที่เหมาะสมในการใช้น้ำสกัดจากมูลสุกรต่อการเจริญเติบโตของกวางตุ้งฮ่องเต้ในระบบไฮโดรโพนิกส์. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 18 หน้า.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2559. การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผ่านระบบการเติมอากาศในการผลิตพืชอินทรีย์. ผลงานวิจัยและนวัฒกรรม ประจำปี 2559. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). 42 หน้า.

ZEN HYDROPONICS. 2559. สลัดกรีนโอ๊ค (Green Oak Lettuce). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://zenhydroponics.blogspot.com/2014/12/green-oak-lettuce.html, ( 25 พฤษภาคม 2564).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ