สมบัติทางเคมีและปริมาณธาตุอาหารพืชในของเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้ในระบบผลิตพืชอินทรีย์
คำสำคัญ:
มูลโคหมัก, น้ำหมักมูลสุกร, น้ำเสียจากฟาร์มกระบือ, ของเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์, ธาตุอาหารพืชบทคัดย่อ
การศึกษาสมบัติทางเคมีและปริมาณธาตุอาหารพืชในของเสียจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ในระบบผลิตพืชอินทรีย์ กระทำโดยการเก็บตัวอย่างมูลโคหมัก น้ำหมักมูลสุกร และน้ำเสียจากฟาร์มกระบือ จากฟาร์มของภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม จำนวน 3 ครั้ง ระยะเวลาห่างกันครั้งละ 4 เดือน ผลการศึกษาพบว่า มูลโคหมัก มีปริมาณธาตุอาหาร N, P2O5, K2O เท่ากับ 1.30%, 1.99% และ 2.35% เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยหมัก เกรด 2 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2550) ส่วนน้ำหมักมูลสุกรและน้ำเสียจากฟาร์มกระบือมีปริมาณธาตุอาหารไม่เป็นไปตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์เหลว (กรมวิชาการเกษตร , 2557)ถึงแม้ว่าน้ำหมักมูลสุกรและน้ำเสียจากฟาร์มกระบือจะมีปริมาณธาตุอาหารหลักในปริมาณไม่มากนัก แต่มีธาตุอาหารรอง จุลธาตุและธาตุเสริมประโยชน์ รวมอย่างน้อย 13 ธาตุ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชในรูปของเหลวโดยการให้ทางดินและทางใบได้
References
กรมพัฒนาที่ดิน. 2550. มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง) ของกรมพัฒนาที่ดิน. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: www1.ldd.go.th/ldd/Fertilizer/Organic_Fertilizer.pdf (19 ตุลาคม 2564).
กรมวิชาการเกษตร. 2548. คู่มือปุ๋ยอินทรีย์ (ฉบับเกษตรกร). สำนักงานเลขานุการกรม กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ 62 หน้า.
กรมวิชาการเกษตร. 2557. ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2019/11/FEDOA11.pdf (19 ตุลาคม 2564).
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2544. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 547 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2556. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 519 หน้า.
ศรีสม สุวรรณวงศ์. 2544. การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 141 หน้า.
สุกัญญา จัตตุพรพงษ์, ปฏิมา อู๋สูงเนิน และอุทัย คันโธ. 2555. การใช้ประโยชน์มูลสุกรและน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร เป็นปุ๋ยอินทรีย์แบบต่างๆ สำหรับพืชเศรษฐกิจ. สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. 40 หน้า.
อานัฐ ตันโช. 2549. คู่มือ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโพนิคส์). พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด, เชียงใหม่. 66 หน้า.