ผลของแสงเทียมจากหลอดแอลอีดีร่วมกับการควบคุมอุณหภูมิต่อผลผลิต และปริมาณน้ำมันในใบกะเพราและโหระพา
คำสำคัญ:
หลอดไฟLEDs, กะเพรา, โหระพา, น้ำมันหอมระเหยบทคัดย่อ
การศึกษาผลของแสงเทียมจากหลอด LEDs ร่วมกับการควบคุมอุณหภูมิต่อผลผลิตและปริมาณน้ำมันในใบกะเพราและโหระพา โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี และทำการทดลองในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบว่า การใช้แสงธรรมชาติทำให้กะเพราและโหระพามีน้ำหนักใบและน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด การปลูกกะเพราภายใต้แสงสีขาว แดง น้ำเงิน และสีแดง : สีน้ำเงิน อัตราส่วน 1 : 1 ทำให้กะเพรามีน้ำหนักผลผลิต เท่ากับ 3,564.44 3,488.89 3,333.33 และ 3,306.67 กรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างทางสถิติกับการปลูกกะเพรานอกโรงเรือนซึ่งมีน้ำหนักผลผลิตน้อยที่สุด คือ 2,608.89 กรัมต่อไร่ หลอด LEDs แสงสีแดงทำให้โหระพามีจำนวนใบและจำนวนใบที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการใช้แสง LEDs ทุกกรรมวิธีทำให้ใบกะเพรามีปริมาณน้ำมัน 8.94 - 11.37 % และใบโหระพามีปริมาณน้ำมัน 7.92 - 8.75 % ซึ่งมากกว่าและแตกต่างทางสถิติกับแสงธรรมชาติและการปลูกนอกโรงเรือน
References
จิราภรณ์ โสดาจันทร์, บรรลือ สังข์ทอง และสกุลรัตน์ รัตนาเกียรติ์. 2558. องค์ประกอบหลักทางเคมีและฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคในช่องปากของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสกุล Ocimum spp. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 11 (ฉบับพิเศษ): 304-310.
ธนียา หาวิเศษ, ภควดี สมหวัง และณภัทร ศรีรักษา . 2558. ผลของการดมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นส้มและกลิ่นกะเพรา ต่อความจำและอารมณ์ในอาสาสมัครเพศหญิง. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.tnrr.in.th ( 29 เมษายน พ.ศ. 2562).
ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2558. โรงงานผลิตพืช (ผัก) Plant factory. วารสารเกษตรอภิรมย์ 1 (6): 32-33.
นภัทร วัจนเทพินทร์ และไชยยันต์ บุญมี. 2560. ไดโอดเปล่งแสงสีอะไรเหมาะสมกับการปลูกพืช?. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 25 (1): 158-176.
ภานุกิจ กันหาจันทร์, พายุ ภักดีนวน, ชญาดา ขำสวัสดิ์, พัชราวรรณ สิริโสภา, ยุทธนา ภู่ทรัพย์, จักรวาล ชมพูศรี และศรีสุดา หาญภาคภูมิ. 2559. การศึกษาฤทธิ์ในการกำจัดลูกน้ำยุงของน้ำมันหอมระเหย 12 ชนิด. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http://nih.dmsc.moph.go.th ( 29 เมษายน พ.ศ. 2562).
สุกัญญา เขียวสะอาด. 2555. กะเพรากับการต้านอนุมูลอิสระ. วิทยาศาสตร์ลาดกระบัง 21 (2): 54-65.
Aldarkazali, M., H.Z. Rihan, D. Carne and M.P. Fuller. 2019. The growth and development of sweet basil (Ocimum basilicum) and bush basil (Ocimum minimum) grown under three light regimes in a controlled environment. Agronomy 9 (11): 743. doi.org/10.3390/agronomy
Yeh, N. and J.P. Chung. 2009. High-brightness LEDs-energy efficient lighting sources and their potential in indoor plant cultivation. Renewable and Sustainable Energy Reviews 13: 2175–2180.