การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเชื้อราในการควบคุมโรคเมล็ดสีม่วงในถั่วเหลือง

ผู้แต่ง

  • วราลักษณ์ บุญมาชัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่
  • นิภาภรณ์ พรรณรา ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่
  • สุมนา จำปา ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่
  • ศิรากานต์ ขยันการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ถั่วเหลือง, พันธุ์เชียงใหม่ 60, โรคเมล็ดสีม่วง, Cercospora kikuchii

บทคัดย่อ

การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคเมล็ดสีม่วงถั่วเหลือง พันธุ์เชียงใหม่ 60 ในสภาพเรือนทดลองและสภาพแปลงทดลอง ในปี 2562 – 2563  ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเชียงใหม่ พบว่า ในสภาพเรือนทดลอง ปี 2562 การคลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วย captan (50% WP) อัตรา  3 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม และพ่น propiconazole+difenoconazole  (15%+15% EC) อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร พบการเกิดโรคเมล็ดสีม่วงต่ำที่สุด คือ 0.33% ส่วนในสภาพแปลงทดลอง ซึ่งดำเนินการในฤดูฝน ปี 2562 พบว่าการพ่น propiconazole+difenoconazole  (15%+15% EC) อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร มีการเกิดโรคเมล็ดสีม่วงต่ำที่สุด คือ 4.75% ส่วนกรรมวิธีควบคุม พบการเกิดโรคเมล็ดสีม่วง ถึง 26.25% ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกใช้การพ่น propiconazole+difenoconazole  (15%+15% EC) อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ที่ระยะ R2 และ R6 ทดแทนการใช้สาร carbendazim ในการป้องกันกำจัดโรคเมล็ดสีม่วง วิธีการนี้จะช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดสีม่วงในถั่วเหลืองปลอดภัยต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม

References

กรมวิชาการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับถั่วเหลือง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โรงพิมพ์ชุมนุม

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ 26 หน้า.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2557. โรค-แมลง ศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.กรุงเทพฯ 60 หน้า.

ภาณุมาศ นาคเจือทอง. 2554. ปริมาณคาร์เบนดาซิมในผลผลิตการเกษตรและการกำจัดด้วยปฏิกิริยาไฟโตคะตะไลสิส. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 16(5): 454-467.

มณฑา นันทพันธ์. 2532. การป้องกันกำจัดโรคเมล็ดสีม่วงของถั่วเหลืองโดยการพ่นสารเคมี ใน: รายงานผลการวิจัยประจำปี 2532. ศูนย์วิจัยพืชไร่ เชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร.

มณฑา นันทพันธ์. 2547. โรคถั่วเหลืองและการป้องกันกำจัด. เอกสารวิชาการ. ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, เชียงใหม่ 57 หน้า

วิเชียร เอกศิริวรานนท์. 2537. การศึกษาเชื้อรา Cercospora kikuchii (Matsumoto & Tomoyasu) Gardner. ที่ทำให้เกิดโรคเมล็ดสีม่วงกับถั่วเหลือง (Glycine max (L.) Merrill). วิทยานิพนธ์ปริญญาโทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 130 หน้า.

Hampton, J.G. and D.M.Tekrony. 1995. Handbook of Vigor Test Methods. 3rd Edition, ISTA, Zurich, 117P.

ISTA. 2019. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association, Bassesdorf, Switzerland.

Readman, J.W., T.A. Albanis, D. Barcelo, S. Galassi, J. Tronczynski and G.P. Gabrielides, 1997. Fungicide contamination of Mediterranean estuarine water: Results from a MED POL pilot survey. Marine Pollution Bulletin 34(4): 259-263.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ