อิทธิพลของสูตรปุ๋ยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของอะโวคาโดพันธุ์บัคคาเนีย

ผู้แต่ง

  • ขวัญหทัย ทนงจิตร สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พิมพ์นิภา เพ็งช่าง สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดรุณี ถาวรเจริญ สถานีวิจัยปากช่อง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ปุ๋ย, อะโวคาโด, บัคคาเนีย

บทคัดย่อ

ศึกษาอิทธิพลของปุ๋ย 4 ชนิดที่มีผลต่อความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่ม และเส้นผ่าศูนย์กลางต้นของอะโวคาโดพันธุ์บัคคาเนีย วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design.,  RCBD) แบ่งออกเป็น 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ไม่ใส่ปุ๋ย(control), ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 200 กรัมต่อต้น, ปุ๋ย 15-15-15, ปุ๋ย 46-0-0 + 15-15-15 และ ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โดยใส่ปุ๋ย ทุก 3 เดือน ณ สถานีวิจัยปากช่อง ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง

จ.นครราชสีมา ระหว่างเดือนมิถุนายน 2563 ถึงเดือนมิถุนายน 2564  จากการทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยความสูงต้นในเดือนที่ 3 6 และ 9 ไม่แตกต่างทางสถิติยกเว้นเดือนที่ 12 มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยปุ๋ยสูตร 15-15-15 มีความสูงต้นมากที่สุด รองลงมาคือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดมีความสูงเท่ากับ 140.0 ซม. และ 116.3 ซม. ตามลำดับ ความกว้างทรงพุ่ม และเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติในเดือนที่ 3 6 9 และ 12 เนื่องจากดินมีธาตุอาหารสูง ปุ๋ยจะไม่ส่งผลในระยะแรก (เดือนที่ 3 และ 6) อย่างไรก็ตามปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในระยะหลัง (เดือนที่ 9 และ12) ส่งผลทำให้ความกว้างทรงพุ่ม และเส้นผ่าศูนย์กลางต้นมีแนวโน้มสูงขึ้นเท่ากับ 101.3 ซม., 105.0 ซม. และ 24.9 มม., 31.9 มม. ตามลำดับ

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. รายงานการจัดการทรัพยากรดิน เพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน

เล่มที่ 23 ดินบนที่ดอน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

ขวัญหทัย ทนงจิตร, พินิจ กรินท์ธัญญกิจ, กัลยาณี สุวิทวัส, เรืองศักดิ์ กมขุนทด และพิมพ์นิภา เพ็งช่าง , 2557.

การสำรวจ รวบรวม และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของใบอะโวคาโด. วารสารแก่นเกษตร 42(3)(พิเศษ) :

– 130.

ขวัญหทัย ทนงจิตร, พินิจ กรินท์ธัญญกิจ, กัลยาณี สุวิทวัส, เรืองศักดิ์ กมขุนทด และพิมพ์นิภา เพ็งช่าง , 2558.

อิทธิพลของพันธุ์และวิธีการต่อกิ่งที่มีผลต่อการขยายพันธุ์อะโวคาโดพันธุ์ปีเตอร์สัน, บูช7,เฟอร์ออเท่ และแฮส,

น.63 ใน: การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 53 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

กรุงเทพฯ.

ขวัญหทัย ทนงจิตร, พินิจ กรินท์ธัญญกิจ, กัลยาณี สุวิทวัส, เรืองศักดิ์ กมขุนทด และพิมพ์นิภา เพ็งช่าง , 2559.

ผลของการตัดแต่งกิ่ง 4 รูปทรง ต่อการผลิใบของอะโวคาโดพันธุ์ปีเตอร์สัน. วารสารพืชศาสตร์สงขลา

นครินทร์ 3(พิเศษ) : 22-26.

ขวัญหทัย ทนงจิตร, พินิจ กรินท์ธัญญกิจ, กัลยาณี สุวิทวัส, เรืองศักดิ์ กมขุนทด และพิมพ์นิภา เพ็งช่าง , 2562.

การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของผลอะโวคาโดเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์

เกษตร 50(2)(พิเศษ) : 225 – 228.

ฉลองชัย แบบประเสริฐ. 2544. อะโวกาโด. ส่วนวิชาการกองพัฒนาเกษตรที่สูง. เชียงใหม่. 33 หน้า

ฐิราพร จันทร์เปล่ง 2547. อิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจนที่มีต่อการออกดอก ลักษณะใบ ปริมาณธาตุอาหาร

การเจริญของกิ่งและคุณภาพผลของอะโวกาโดพันธุ์บัคคาเนีย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 76 หน้า

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:

http://impexp.oae.go.th/service/report_hs01.php?S_YEAR=2563&i_type=1&HS_CODE=08044000000&wf_search=&WF_SEARCH=Y#export. (17 พฤศจิกายน 2564).

Babpraserth, C. and S. Subhadrabandhu. 2000. Avocado production in Thailand, pp.

-64. In K.P. Minas (Ed.). Avocado Production in Asia and The Pacific. FAO, Bangkok.

Cobley, L.S and W.M. Steele. 1976. An Introduction to the Botany of Tropical Crop. 2nd ed. English

Longman Book Society, London. 12 P.

Lahav, E., D. Kalmar and Y. Bar. 1987. Nitrogen Fertilization a Guarantee for Relative Resistance of

Avocado Tree to Frost. Journal of Plant Nutrition 10(9-16): 1859-1868.

Purseglove, J.W. 1974. Troppical Crop Dicotyledons. English Longman Book Society, London.719 P.

Whiley, A.W. 2000. Avocado production in Australia, pp. 5-14. In K.P. Minas, ed. Avocado

Production In Asia and The Pacific. FAO, Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ