การส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตผักของเกษตรกร ในอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • นันทวุฒิ จันทร์ปาน วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นารีรัตน์ สีระสาร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการเกษตร, เชื้อราไตรโคเดอร์มา, การผลิตผัก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตผัก                ของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการผลิตผัก 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 172 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการจัดลำดับ

ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 56.01 ปี ร้อยละ 43.00 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.09 คน มีพื้นที่เพาะปลูกผัก เฉลี่ย 1.71 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกผัก เฉลี่ย 13.13 ปี มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.84 คน มีรายได้จากการปลูกผักของครัวเรือนเฉลี่ย 23,398.26 บาท/ปี และ              มีรายจ่ายจากการปลูกผักของครัวเรือนเฉลี่ย 10,043.90 บาท/ปี 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกผักบุ้ง ผลิตผักเฉลี่ย 3.63 รอบ/ปี เกษตรกรร้อยละ 86.6 ยังไม่ได้มาตรฐานรับรองการผลิต ร้อยละ 95.30 เตรียมดินโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และร้อยละ 48.20     ใช้สารสกัดจากพืช 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับมาก ในด้านความรู้เกี่ยวกับการผลิต การใช้และการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มา 4) ปัญหาของเกษตรกร ได้แก่ ขั้นตอนการผลิตค่อนข้างยุ่งยาก และขาดความรู้ด้านโรคพืช ดังนั้นควรส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มในการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา และอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ด้านโรคพืช รวมทั้งควรสนับสนุนหัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาอย่างต่อเนื่อง

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2564. เกษตรฯ ลงพื้นที่รับฟังปัญหาเกษตรกรปลูกผัก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://secreta.doae.go.th/?p=8481 (5 มีนาคม 2565).

กัลยา มิขะมา. 2545. ความคิดเห็นต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันกำจัดโรคพืชผักของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. จังหวัดขอนแก่น, 121 หน้า

กิติคุณ บุญทะนุวัง. 2552. ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตผักปลอดภัยของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ, 95 หน้า

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. 2563. รายงานการตกค้างของสารพิษในผักผลไม้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2020/12/20569 (2 พฤษภาคม 2565).

จรัล เข็มพล. 2559. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในนาข้าวของเกษตรกรในจังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี. 98 หน้า

จิระเดช แจ่มสว่าง และวรรณวิไล อินทนู. 2545ก. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช. หน้า 36-52. ใน: ภาควิชา โรคพืช คณะเกษตร คลินิกสุขภาพพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการควบคุม โรคพืชและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, จังหวัดนครปฐม.

จิระเดช แจ่มสว่าง และวรรณวิไล อินทนู. 2545ข. การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด. หน้า 53-65 ใน: ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร คลินิกสุขภาพพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, จังหวัดนครปฐม.

นาวินทร์ แก้วดวง. 2558. การผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี. 107 หน้า

ปรเมศวร์ วีระโสภณ. 2556. การใช้เทคโนโลยีในระบบการผลิตผักพื้นบ้านอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอบ้านนา จังหวัด นครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี. 160 หน้า

ประภาพร กิจดำรงธรรม. 2559. ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตผักอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อำเภอสันทราย แม่ริม แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานผลงานวิจัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่. 47 หน้า

ปาณิสรา สัมฤทธินอก. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในการควบคุมศัตรูพืชในนาข้าวของเกษตรกรอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.เชียงใหม่. 88 หน้า

สายทอง แก้วฉาย. 2555. การใช้ไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคพืช. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปีที่ 4 (ฉบับที่ 3): 108-118.

สำนักงานเกษตรอำเภอประจันตคาม. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563. ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.farmer.doae.go.th/farmer/report_act/reportTambon (1 มีนาคม 2565).

อนุวัฒน์ อยู่สงค์. 2562. การส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยของเกษตรกรในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี.98 หน้า

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York. 1,130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ