ผลของกากตะกอนเยื่อกระดาษที่มีต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน และคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน

ผู้แต่ง

  • วันวิสาข์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์ ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ธรรมธวัช แสงงาม ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ใยไหม ช่วยหนู ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ปฐมา แทนนาค ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน
  • ทศพร วัฒนะพันธ์ศักดิ์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กองบริการกลาง สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

กากตะกอนเยื่อกระดาษ, ไส้เดือนดิน, ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการเปรียบเทียบใช้ไส้เดือนดินในการจัดการกากตะกอนเยื่อกระดาษ และศึกษากากตะกอนเยื่อกระดาษที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินเพื่อผลผลิตเป็นปุ๋ยหมัก พบว่ากากตะกอนเยื่อกระดาษเมื่อผสมกับดินร่วนและมูลวัวเพื่อใช้เป็นวัสดุรองพื้นเลี้ยงไส้เดือนในการเจริญเติบโตต่างๆ พบว่ามีผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนพันธุ์ E. eugeniae และไส้เดือนพันธุ์ P. peguana โดยไส้เดือนพันธุ์ P. peguana สามารถปรับตัวใช้วัสดุรองพื้นจากกากตะกอนเยื่อกระดาษ : ดินร่วน : มูลวัว ในอัตราส่วน 2 : 1 : 1 การเจริญเติบโตของไส้เดือนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวไส้เดือนมากที่สุด คือ 1.8 กิโลกรัม ในช่วงการเลี้ยงไส้เดือนที่ 60 วัน การเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์ P. peguana ในวัสดุรองพื้นจากกากตะกอนเยื่อกระดาษพบว่าน้ำหนักมูลไส้เดือน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักมูลไส้เดือนมากที่สุด คือ   ส่วนการเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์ E. eugeniae ในวัสดุรองพื้นจากกากตะกอนเยื่อกระดาษ พบว่าค่าธาตุอาหารของมูลไส้เดือนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีอินทรียวัตถุ (OM) 12.88 % ไนโตรเจน (N) 0.64 % ฟอสฟอรัส (P) 0.47 % โพแทสเซียม (K) 1.66 % มากที่สุด เมื่อเทียบกับการเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์ P. peguana และการวิเคราะห์ธาตุอาหารของน้ำหมักไส้เดือน จากการเลี้ยงไส้เดือน E. eugeniae ในวัสดุรองพื้นกากตะกอนเยื่อกระดาษพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  เมื่อเทียบกับการเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์ P. peguana โดยมีอินทรียวัตถุ (OM) 0.11 % ไนโตรเจน (N) 0.19 % และโพแทสเซียม (K) 0.65 % ขณะที่ค่าฟอสฟอรัส พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

References

ชูศักดิ์ จอมพุก. 2561. สถิติ: การวางแผนการทดลองและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านพืชด้วย “R”. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 350 หน้า.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 170 หน้า.

นันทวุฒิ จำปางาม. 2553. การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ไส้เดือนดินในการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมเกษตรและอิทธิพลต่อการลดการปนเปื้อนแคดเมียมในดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 145 หน้า.

พันธิตร์ มะลิสุวรรณ และผุสดี สายชนะพันธุ์. 2546. การทำธุรกิจฟารม์ไส้เดือน, ยูทิไลซ์, กรุงเทพฯ. 61 หน้า.

สุนทร ดุริยะประพันธ์, ปริญญา วิไลรัตน์, ทักษิณ อาชวาคม, สายันต์ ตันพานิช, ประยุทธ กาวิละเวส, ชลธิชา นิวาสประกฤติและปรียานันท์ ศรสูงเนิน. 2558. แนวทางการใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเกษตร. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 150 หน้า.

อานัฐ ตันโช. 2549. การกำจัดขยะอินทรีย์โดยไส้เดือนดิน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักพิมพ์พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. 259 หน้า.

อานัฐ ตันโช. 2560. คู่มือการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 250 หน้า.

อิสรี รอดทัศนา. 2550. การปรับสภาพกากตะกอนเยื่อกระดาษเหลือทิ้งขั้นต้นเพื่อผลิตเอทานอลจากการกระบวนการย่อยให้เป็นน้ำตาลโดยใช้เอมไซม์และการหมัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 156 หน้า.

อัญชลี จาละ และสมชาย ชคตระการ. 2559. วัสดุรองพื้นที่มีกากตะกอนอ้อยจากหม้อกรองเป็นส่วนผสมในอัตราส่วนต่างๆ มีผลต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือน 2 ชนิด. Thai Journal of Science and Technology 5 (1): 34-54.

Edwards, C.A. and I. Burrows. 1988. Earthworms in Waste and Environmental Management. SPB Academic Publishing, Netherlands. 268 p.

GEORG. 2004. Feasibility of Developing the Organic and Transitional Farm Market for Processing Municipal and Farm Organic Wastes Using Karge Scale Vermicom-positing. Good Earth Organic Resources Group, Halifax, Nova Scotia. 120 p.

Grubben, G.J.M. 1976. The Cultivation of Amaranth as Tropical Leaf Vegetable. Communication 67 of the Department of Agriculture Research, Koniuklizk Institute Voor de Tropen, Amsterdam, The Netherlands.

Sparks, D.L., A.L. Page, P.A. Helmke, R.H. Loeppert, P.N. Soluanpour, M.A. Tabatabai, C.T. Johnston and M.E. Sumner. 1996. Method of Soil Analysis Part 3 Chemical Method. Soil Science Society of America, Inc., American Society of Agronomy and Inc., Madison,Wisconsin, USA. 90 p.

Viljoen, S.A., A.J. Reineckeand and L. Hartman. 1992. The influence of temperature on the life-cycle of Dendrobaena venata (Oligochaeta). Soil Biology and Biochemistry 24(12):1341-1344.

Walkley, A.J. and I.A. Black. 1934. Estimation of soil organic carbon by the chromic acid titration method. Soil Scientific. 37: 29-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ